การเจรจาความตกลงพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคที่มีอาเซียนเป็นแกนกลางมีอนาคตสดใส
  2013-03-11 16:58:16  cri

วันที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมา การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการครั้งที่ 19 จัดขึ้นที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ที่ประชุมได้พิจารณาแนวทางการเจรจาความตกลงพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคระหว่างอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์แห่งเวียดนามกล่าวในที่ประชุมว่า คาดว่าการเจรจาความตกลงพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคจะเริ่มขึ้นภายในปีนี้ และจะเสร็จสิ้นภายในปี 2016 โดยมีเป้าหมายจะสร้างเขตการค้าเสรีขนาดใหญ่สุดของโลก ซึ่งมีขนาดประชากรคิดเป็นจำนวนครึ่งหนึ่งของโลก

ความตกลงพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคเป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคของเอเชียตะวันออก โดยมีอาเซียนเป็นแกนกลาง เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายนปีที่แล้ว 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน และ 6 ประเทศที่เป็นหุ้นส่วนการค้าของอาเซียนได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดียเห็นด้วยจะดำเนินการเจรจาความตกลงพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค

เจ้าหน้าที่ของกระทรวงการค้าอินโดนีเซียกล่าวว่า ประเด็นหลักในการเจรจาคือ เปิดเสรีการค้าภาคบริการ ปัจจุบัน ประเทศที่เกี่ยวข้องล้วนเห็นด้วยจะลดภาษีการค้าสินค้าให้อยู่ในระดับต่ำภายในปี 2018 ขณะเดียวกัน เม็ดเงินต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศเอเชียกำลังเปลี่ยนทิศทางการลงทุนจากภาคการผลิตมายังภาคบริการ ด้วยเหตุนี้ กระทรวงการค้าของอินโดนีเซียได้ระบุในแผนการพัฒนาระยะกลางแล้วว่า จะเร่งพัฒนาการค้าภาคบริการ

ส่วนสาเหตุที่อาเซียนและหุ้นส่วนการค้าของอาเซียนจะเร่งผลักดันกระบวนการการเจรจาความตกลงพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคนั้นก็เพราะว่า ประการแรก ช่วง 11 ปีมานี้ การเจรจารอบโดฮาไม่สามารถประสบผลคืบหน้าใดๆ เพราะมีความขัดแย้งและอุปสรรคในการเจรจามาก ภายใต้สภาวะเช่นนี้ หลายประเทศจึงหันมาหาทางใหม่ โดยเร่งพัฒนาการค้าภาคบริการ

ประการที่สอง นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงินโลกเป็นต้นมา เศรษฐกิจโลกตกอยู่ในภาวะซบเซา เศรษฐกิจหลายประเทศได้รับผลกระทบอย่างมากจากวิกฤตการเงินโลก ทำให้การค้าสินค้าทั่วโลกมีอัตราเติบโตลดลงจาก13% ในปี 2010 มาเป็น 7% ในปี 2011 องค์การการค้าโลกคาดว่า การค้าสินค้าทั่วโลกในปี 2012 อาจมีอัตราเติบโตเพียง 3.7% เท่านั้น

ประการที่สาม ภายใต้สถานการณ์เศรษฐกิจโลกตกอยู่ในภาวะซบเซา และการขยายตัวของการค้าสินค้าชะลอตัวลง ทำให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกต้องหันมาเร่งพัฒนาการค้าภาคบริการ เพื่อเพิ่มรายได้ของประเทศให้มากขึ้น และปรับปรุงภาวะรายรับรายจ่ายทางการคลังให้มีความสมดุล ด้วยสาเหตุดังกล่าว การค้าภาคบริการจึงได้รับความสนใจจากประเทศต่างๆมากขึ้น และกลายเป็นประเด็นสำคัญในความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

ประการสุดท้าย ปีหลังๆ นี้ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มี 10 ประเทศอาเซีย จีนและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่อื่นๆ เป็นแกนกลางได้ดำเนินไปอย่างราบรื่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดียส่วนใหญ่ได้จัดตั้งเขตการค้าเสรีกับอาเซียนแล้ว และเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนได้พัฒนาเป็นแบบอย่างในการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

(YING/cai)

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040