วันที่ 18 มีนาคมนี้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ของไทยระบุว่า ได้เริ่มดำเนินการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรที่ได้ยื่นต่อ ป.ป.ช. ถ้าคำกล่าวหาเป็นเรื่องจริง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรอาจจะถูกปลดออกจากตำแหน่ง ทำให้สถานการณ์การเมืองของไทยเป็นที่สนใจของประชาคมโลกอีกครั้ง
เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคมปี 2011 คณะกรรมการเลือกตั้งของไทยได้ยืนยันคุณสมบัติของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และวันที่ 5 สิงหาคมปีเดียวกัน เธอได้รับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 28 ต่อจากนั้น ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เธอได้ยื่นทรัพย์สินส่วนตัวต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ 2 ครั้งภายใน 30 วัน หลังจากได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและนายกรัฐมนตรี โดยในเอกสารที่ยื่นนั้น มีหนังสือสัญญากู้ยืม 3 ฉบับ ซึ่งต่างแสดงว่า วันที่ 6 ตุลาคมปี 2006 ให้เงินแก่บริษัทที่สามีของเธอถือหุ้นจำนวนมากยืมไป 20 ล้านบาท ต่อมาวันที่ 9 และ 12 มีนาคมปี 2007 ได้ให้บริษัทแห่งนี้เช่นกันยืมอีกรวม 10 ล้านบาท ซึ่งรวมแล้วประมาณ 30 ล้านบาท และคิดดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยเงินฝากระยะ 1 ปีของเวลานั้น
แต่เมื่อเร็วๆ นี้ มีคนเปิดเผยว่า บัญชีของบริษัทที่ให้ยืมเงินจากน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร์แห่งนี้แสดงว่า เมื่อปี 2006 ไม่มีการกู้ยืมเงินใดๆ จนถึงปี 2007 มีการให้กู้ยืมเงิน 30 ล้านบาท นอกจากนี้ ในบัญชียังระบุว่า อัตราดอกเบี้ยคือ 2.05-3.75% ไม่ใช่ดอกเบี้ยเงินฝากระยะ 1 ปีที่กำหนดโดยองค์กรการเงิน ซึ่งไม่ตรงกับหนังสือสัญญาที่เธอยื่นต่อ ป.ป.ช. ตามกฎหมายของไทย ถ้าข้าราชการยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อป.ป.ช.ไม่ตรงกับสภาพความเป็นจริง จะดำรงตำแหน่งในรัฐบาลต่อไปไม่ได้
วันที่ 19 มีนาคมนี้ นายกล้าณรงค์ จันทิก กรรมการของ ป.ป.ช. ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า ปัจจุบัน เจ้าหน้าที่กำลังตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีปัญหา 2 ประการคือ ระยะเวลาการกู้ยืมเงิน และอัตราดอกเบี้ย หากเอกสารที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรยื่นต่อ ป.ป.ช. ไม่ตรงกับสภาพความเป็นจริง ป.ป.ช. จะดำเนินการตรวจสอบต่อไป
Ton/Lr