สถิติล่าสุดจากสำนักงานกิจการการบินพลเรือนจีนระบุว่า ช่วงระหว่างเดือนมกราคมถึงพฤษภาคมปีนี้ เที่ยวบินที่ออกเดินทางได้ตรงตามกำหนดเวลาเป็นเพียงร้อยละ 71.73 เท่านั้น ลดลงร้อยละ 3.35 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้ว
ด้วยเหตุนี้ หน่วยงานกิจการพลเรือนของจีนจึงออกมาตรการแก้ปัญหาเครื่องบินดีเลย์ครั้งใหญ่ โดยออกมาตรการ "ไม่จำกัดการบินขึ้น" เป็นครั้งแรกสำหรับเที่ยวบินที่บินขึ้นจากท่าอากาศยานใหญ่ 8 แห่ง เช่น กรุงปักกิ่ง กว่างโจว เซี่ยงไฮ้ และเมืองเฉิงตู เพราะว่า ปริมาณการบินขึ้นหรือร่อนลงของท่าอากาศยาน 8 แห่งดังกล่าวคิดเป็นประมาณครึ่งหนึ่งของทั่วประเทศ ทั้งนี้เพื่อให้เครื่องบิน "มาเมื่อไรก็ไปเมื่อไร" ได้ โดยไม่ต้องถูกควบคุมจากข้อจำกัดปริมาณการบินขึ้นลงของท่าอากาศยาน
อย่างไรก็ตาม บุคคลในแวดวงกิจการระบุว่า การควบคุมปริมาณการบินขึ้นลงนั้นพุ่งเป้าไปยังเรื่องบริเวณน่านฟ้าที่เครื่องบินบินได้ ซึ่งเป็นทรัพยากรการบินทางการทหารและพลเรือนที่มีความสำคัญ เมื่อเทียบกับประเทศตะวันตกแล้ว จีนยังต้องเปิดบริเวณน่านฟ้าให้บินได้มากขึ้น
นายจาง ฉี่หวาย หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญศูนย์บริการกฎหมายด้านการบินของจีนระบุว่า การเปิดน่านฟ้าเป็นเพียงวิธีหนึ่งในการแก้ไขปัญหาเครื่องบินดีเลย์เท่านั้น ที่สำคัญกว่านั้นคือ ต้องใช้น่านฟ้าที่เปิดอยู่ตามหลักวิทยาศาสตร์และใช้ให้เกิดประโยชน์
(YIM/LING)