สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า หลังจากสภาผู้แทนราษฎรไทยได้ผ่านร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่เสนอโดยพรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นพรรครัฐบาลเมื่อวันที่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมานี้ พรรคฝ่ายค้านประกาศว่าจะจัดการชุมนุมแสดงกำลังระยะยาวตามท้องถนนในกรุงเทพฯ
ถ้ามองจากผลการลงคะแนนเสียงจะเห็นได้ว่า แม้ว่าสมาชิกสภาของพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นฝ่ายค้านได้ลุกออกจากที่ประชุมและไม่ได้ลงคะแนนเสียงก็ตาม แต่สภาผู้แทนราษฎรยังผ่านร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับนี้ด้วยเสียงสนับสนุน 310 เสียง คัดค้าน 0 เสียง และงดออกเสียง 4 เสียง เสียงสนับสนุนมีมากกว่า 60% ของสมาชิกสภาทั้งหมด 500 นาย
ตามเนื้อหาร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ ผู้กระทำผิดที่เกี่ยวเนื่องกับกลุ่มการเมืองระหว่างการก่อรัฐประหารของเมื่อวันที่ 19 กันยายนปี 2006 ถึงวันที่ 8 สิงหาคมปี 2013 จะได้รับการนิรโทษกรรมทั้งหมด ซึ่งรวมถึง พันตำรวจโท ดร. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พี่ชายของนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันด้วย ทำให้ฝ่ายต่อต้านอิทธิพลของทักษิณ ชินวัตรรู้สึกไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง
นับแต่เมื่อปี 2011 หลังจากรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรครองอำนาจเป็นต้นมา ได้ส่งเสริมให้เกิดการผ่านร่างพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวมาโดยตลอด แต่เนื่องจากได้รับการขัดขวางจากพรรคฝ่ายค้าน และข้อจำกัดของกฎหมายไทย นอกจากนั้น ยังมีความกังวลว่าจะก่อให้เกิดความวุ่นวายในสังคม ดังนั้น กระบวนการร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้จึงดำเนินอย่างล่าช้ามาก พวกที่จะได้รับการนิรโทษส่วนใหญ่เคยรับการพิพากษาจำคุก 1-6 ปีในการมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ทางการเมืองระหว่างปี 2006-2010 ถ้าไม่ผ่านพ.ร.บ.ฉบับนี้อย่างรวดเร็ว ผู้ที่รับผลประโยชน์จากญัตติฉบับนี้จะมีน้อยมากยิ่งขึ้น จึงทำให้พรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นพรรครัฐบาลได้เร่งฝีก้าวให้การสนับสนุนมากขึ้น
เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมานี้ สภาราษฎรไทยได้ผ่านร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม แม้ว่า ตามรัฐธรรมนูญของไทย ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับนี้ยังต้องได้รับการอนุมัติเห็นชอบในวุฒิสภา และจากในหลวงแล้ว ถึงจะมีผลบังคับใช้ก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงระเบียบตามขั้นตอนเท่านั้น
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตนายกรัฐมนตรีกล่าวเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ว่า การร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม และขั้นตอนที่สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาผ่านร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมได้ฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ พรรคประชาธิปัตย์ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญดำเนินการวินิจฉัย ถ้าหากศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็จะเลื่อนเวลาการมีผลบังคับใช้ของร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้
Yim/LJ