ดาวเทียมนำร่องเป่ยโต่วเป็นประโยชน์ต่อประเทศอาเซียน
  2013-11-15 13:39:33  cri
ทุกวันนี้ ความร่วมมือระหว่างจีนกับอาเซียนแน่นแฟ้นมากขึ้น โครงการดาวเทียมนำร่องเป่ยโต่วของจีนที่ครอบคลุมประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางขึ้นด้วย

หลังจากที่ลาว และบรูไนตกลงเบื้องต้นจะใช้ระบบดาวเทียมนำร่องเป่ยโต่วของจีนแล้ว เดือนเมษายนที่ผ่านมา สถาบันวิจัยสองแห่งในมณฑลหูเป่ยของจีนก็ได้ลงนามกับสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)ของไทย โดยจะจัดตั้งระบบให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศเชิงพื้นที่ (Geospatial) การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ด้านข้อมูลสารสนเทศในประเทศไทย คาดว่าจะใช้งบลงทุนประมาณ 2,000 ล้านหยวน ดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2014 ระบบนี้จะใช้งานเกี่ยวกับการคมนาคมทางทะเล ทางบก การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การเกษตร พลังงานไฟฟ้า และสิ่งแวดล้อม

ตั้งแต่ปี 1964 เป็นต้นมา เทคโนโลยี GPS ของสหรัฐฯเป็นเทคโนโลยีที่ใช้กันทั่วโลก ประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ ซึ่งรวมถึงประเทศจีนมีค่าใช้จ่ายสูงเพื่อใช้บริการ GPS เนื่องจากยังไม่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพียงพอ อีกทั้งประเทศที่ใช้บริการต้องยอมรับเงื่อนไขพ่วงท้ายจำนวนมาก การมีระบบนำร่องหลายระบบให้เลือกจึงจะลดความเสี่ยงได้ ดังนั้นจีนจึงพยายามพัฒนาระบบนำร่องของประเทศกำลังพัฒนาเอง ขณะนี้ ระบบดาวเทียมเป่ยโต่วได้ส่งดาวเทียมนำร่อง 16 ดวง และสร้างเครือข่ายในภูมิภาคเรียบร้อยแล้ว โดยจะครอบคลุมเอเชียแปซิฟิกซึ่งรวมถึงประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย เมื่อถึงปี 2020 จีนจะมีดาวเทียมเป่ยโต่ว 30 ดวง สร้างระบบนำร่องดาวเทียมเป่ยโต่วที่ครอบคลุมทั่วโลก

อาเซียนกับจีนเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือกันหลายๆด้านอยู่แล้ว อาทิ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เชื้อชาติและวัฒนธรรม อีกทั้งยังเป็นกลุ่มประเทศที่ใช้บริการดาวเทียมเป่ยโต่วเป็นหลัก จึงหวังว่าเทคโนโลยีของจีนครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย

(nune/cici)

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040