วันที่ 19 กันยายนปี 2006 ประเทศไทยเกิดรัฐประหาร พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยที่กำลังเข้าร่วมการประชุมสหประชาชาติในสหรัฐอเมริกาต้องลี้ภัยการเมืองไปอยู่ในประเทศอังกฤษ ต่อมา ภายในประเทศไทยเกิดกลุ่มอิทธิพลทางการเมือง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มต่อต้านและกลุ่มสนับสนุนทักษิณ
ตั้งแต่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นต้นมา ได้ใช้มาตรการต่างๆ เพื่อส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศ การส่งออกและการลงทุนจากต่างประเทศ ทำให้เศรษฐกิจของไทยมีแนวโน้มดีขึ้น ในด้านการเมือง รัฐบาลยิ่งลักษณ์พยายามหาทางแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ถูกกลุ่มอิทธิพลต่อต้านทักษิณแก้ไขภายหลังก่อรัฐประหาร พร้อมพยายามผลักดันให้ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมได้รับการอนุมัติจากรัฐสภา เพื่อปูทางให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรกลับประเทศอย่างมีเกียรติ
แต่ว่าการใช้ความพยายามทางการเมืองของนางสาวทักษิณ ชินวัตรได้รับการต่อต้านอย่างรุนแรงจากฝ่ายต่อต้านรัฐบาล เมื่อเช้าวันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมา สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติผ่านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ก่อให้เกิดกระแสประท้วงอย่างรุนแรงจากฝ่ายต่อต้าน ซึ่งมีขนาดความรุนแรงเกินกว่าที่พรรครัฐบาลคาดคิด จนบีบให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ต้องเพิิกถอนร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว แต่การชุมนุมประท้วงไม่ได้ยุติลง กลับทวีความรุนแรงมากขึ้น เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ผู้ประท้วงบุกเข้าอาคารที่ทำการของรัฐบาลบางแห่ง จนบางหน่วยงานต้องปิดทำการ
วันที่ 20 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญไทยประกาศคำวินิจฉัยคำร้องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของส.ว.ว่าเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ ต่อมาเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายนที่ผ่านมา พรรคประชาธิปัตย์และพรรคฝ่ายค้านอื่นๆ เสนอญัตติไม่ไว้วางใจนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีต่อสภาผู้แทรราษฎร โดยนายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ประณามรัฐบาลยิ่งลักษณ์มีพฤติกรรมทุจริตคอรัปชั่นในระหว่างดำเนินนโครงการรับจำนำข้าว ทำให้ประเทศต้องประสบความเสียหายอย่างหนัก