สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า บุคคลในวงการวิชาการของไทยจำนวนหนึ่งไม่เห็นด้วยกับแนวทางที่ผู้คัดค้านรัฐบาลไทยเสนอให้จัดตั้งสภาประชาชนเพื่อบริหารประเทศ และมีนายกฯคนกลาง กลุ่มนักวิชาการคัดค้านข้อเสนอดังกล่าวโดยรวมตัวในกลุ่มชื่อ "สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย" ที่ประกอบด้วยกลุ่มนักวิชาการและตัวแทนประชาชนจำนวนหนึ่งเห็นว่า แกนนำกลุ่มผู้ประท้วงกำลังจะใช้วิธีการที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งเป็นการกระทำที่ละเมิดรัฐธรรมนูญ หากยังเป็นการถอยหลังทางประวัติศาสตร์
สมัชชามีจุดร่วมเบื้องต้น คือ ไม่เห็นด้วยกับการนำสถาบันกษัตริย์มาเกี่ยวข้องกับการเมือง ไม่เห็นด้วยกับการที่ทหารแทรกแซงการเมือง รักษาและขยายพื้นที่สิทธิเสรีภาพ รักษาและขยายพื้นที่ประชาธิปไตย
ทั้งนี้ สมัชชาฯเสนอให้ร่วมกันออกแบบการทำประชามติในการแก้ไขหรือยืนยันการใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคมที่ผ่านมา นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร และจะจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ปี 2014 เนื่องจากแรงกดดันจากการประท้วงต่อต้านรัฐบาลครั้งใหญ่ แต่แกนนำกลุ่มผู้ประท้วง เรียกร้องให้รักษาการนายกฯ มอบอำนาจให้แก่สภาประชาชนที่ประกอบด้วยตัวแทนจากวงการต่างๆ โดยตรง ให้องค์กรนี้ปฏิรูปทางการเมืองเพื่อบรรลุซึ่งประชาธิปไตยที่แท้จริง
คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.)เห็นว่า แม้ว่าในประวัติศาสตร์ไทยไม่เคยมีสภาประชาชน แต่สามารถดำเนินการได้ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ตามมาตราที่ 3 และที่ 7 โดยประชาชนวงการต่างๆ สามารถคัดเลือกตัวแทนจัดตั้งสภาประชาชนขึ้น และปฏิบัติหน้าที่องค์กรนิติบัญญัติ คักเลือกบุคคลที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองใดๆ จัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาล รับผิดชอบกิจงานด้านปรับแก้ไขกฎหมายและส่งเสริมการปฏิรูปทั่วประเทส แล้วจัดการเลือกตั้ง
Nune/Lr