พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน ซึ่งเป็นไต้ฝุ่นร้ายแรงที่สุดของโลกในปี 2013 ได้ซัดกระหน่ำฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 6,000 คน และนำความเสียหายอย่างหนักหนาแสนสาหัสแก่ฟิลิปปินส์ หลายปีมานี้ เนื่องจากภัยธรรมชาติเกิดขึ้นบ่อยครั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ต่างได้พัฒนากลไกพยากรณ์ภัยพิบัติให้สมบูรณ์มากขึ้น พร้อมเพิ่มมาตรการป้องกันและกู้ภัย
หลังจากไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนเข้าถล่มฟิลิปปินส์แล้ว รัฐบาลฟิลิปปินส์และนายเบนิกโน อาคีโน ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ได้รับเสียงวิพากวิจารณ์ทั้งจากชาวฟิลิปปินส์และประชาคมโลก นายเบนิกโน อาคีโนกล่าวต่อการนี้ว่า เขตพื้นที่ประสบภัยอยู่บนเกาะ ด้วยเหตุที่ไต้ฝุ่นทำลายอุปกรณ์ด้านการคมนาคมและการสื่อสาร งานกู้ภัยจึงต้องเผชิญกับความยากลำบากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ขณะนี้ รัฐบาลฟิลิปปินส์กำลังดำเนินโครงการพัฒนาระบบนิเวศหลายโครงการ เช่น ปลูกป่าชายเลนเพื่อต้านทานผลเสียที่เกิดจากคลื่นยักษ์สึนามิ
เมื่อ 9 ปีก่อนนี้ ภัยคลื่นยักษ์สึนามิจากมหาสมุทรอินเดียทุบทำร้ายภาคใต้ของไทยอย่างหนัก ปกติ เขตชายฝั่งทางภาคใต้ก็ได้รับการคุกคามจากสึนามิและไต้ฝุ่นเสมอ เมื่อปี 2011 ประเทศไทยยังเกิดอุทกภัยอย่างร้ายแรง พื้นที่กว่าครึ่งหนึ่งประสบความเสียหายอย่างหนัก
ภัยพิบัติซึ่งปะทุขึ้นมาบ่อยครั้ง สอนให้รัฐบาลทุกประเทศอาเซียนจำเป็นต้องตรวจสอบกลไกต้านทานภัยในภูมิภาคนี้ โดยสมาชิกอาเซียนจะจัดการซ้อมการกู้ภัยร่วมกันทุก 2 ปีครั้งหนึ่ง ประสานงานปฏิบัติการบรรเทาภัยให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ในการกู้ภัย
ในขณะที่เร่งใช้ความพยายามปรับปรุงกลไกต้านทานภัยพิบัติ บรรดาประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แสดงความกังวลต่อปัญหาสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงของโลก โดยใช้เวทีการประชุมว่าด้วยสภาพการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศของสหประชาชาติครั้งที่ 19 เรียกร้องทั่วโลกให้ความสำคัญกับปรากฏการณ์ที่อากาศรุนแรงเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ใช้ความพยายามอย่างทันกาลเพื่อยับยั้งสภาพการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก
YIM/FENG