สำนักข่าวแห่งประเทศจีนรายงานว่า ปี 2014 ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และการค้าจีน-อาเซียนจะเปิดฉาก " 10 ปีแห่งเพชร" ผู้คนหวังว่าเส้นทางสายไหมทางทะเลที่เคยสร้างความเจริญรุ่งเรืองในประวัติศาสตร์จะสร้างความผาสุกให้กับภูมิภาคที่เชื่อมต่อถึงกันนี้ในทศวรรษนี้
ในช่วง 10 ปีแห่งทองคำที่ผ่านมา จีนกลายเป็นหุ้นส่วนการค้าอันดับหนึ่งของอาเซียน อาเซียนกลายเป็นหุ้นส่วนการค้าอันดับ 3 ของจีน ปี 2012 ที่ผ่านมา ยอดการค้าระหว่างสองฝ่ายสูงถึง 4 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็น 5 เท่าเมื่อเทียบกับ 10 ปีก่อน การลงทุนในอีกฝ่ายหนึ่งของทั้งสองฝ่ายรวมแล้วสูงกว่า 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็น 3 เท่าเมื่อเทียบกับ 10 ปีก่อนโดยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2013 ยอดการค้าระหว่างสองฝ่ายเพิ่มขึ้น 10.9% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้ว สูงกว่าอัตราการเติบโตของยอดการค้าระหว่างจีนกับหุ้นส่วนการค้าอื่น
ปี 2013 นายหลี่ เค่อเฉียงเยือนประเทศอาเซียนเป็นครั้งแรกหลังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยได้นำเสนอความปรารถนาที่จะเริ่มการเจรจาเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนที่ยกระดับขึ้น ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าในช่วง 10 ปีข้างหน้า เศรษฐกิจ และการค้าระหว่างจีนกับอาเซียนจะพัฒนาจากการขยายตัวเชิงปริมาณมาเป็นการยกระดับเชิงคุณภาพ ทำให้ทั้งสองฝ่ายได้รับผลประโยชน์ร่วมกันในเชิงลึก
เห็นได้ชัดเจน การค้าสินค้าที่สองฝ่ายชดเชยซึ่งกันและกันจะยกระดับขึ้น เมื่อปี 2013 ที่ผ่านมา โครงการข้าวแลกรถไฟความเร็วสูงระหว่างจีนกับไทยเป็นแบบฉบับที่น่าจะเผยแพร่อย่างกว้างขวาง ระหว่างเยือนไทย นายหลี่ เค่อเฉียงสัญญาว่า จีนยินดีที่จะสนับสนุนให้วิสาหกิจจีนนำเข้าข้าวไทย 1 ล้านตันในช่วง 5 ปีข้างหน้า ขณะเดียวกันก็ได้แสดงเทคโนโลยีทันสมัยของรถไฟความเร็วสูงจีน
ผู้เชี่ยวชาญบางคนเห็นว่า การแลกเปลี่ยนสินค้าที่ชดเชยซึ่งกันและกันนั้นยังไม่พอ เขาเห็นว่า จีนกับอาเซียนควรสร้างห่วงโซ่การผลิตสมบูรณ์ที่ครอบคลุมถึงการผลิตกับการจำหน่าย ทำให้เศรษฐกิจของทั้งสองฝ่ายสนับสนุนซึ่งกันและกัน
ทางการจีนก็ได้มีเจตนารมณ์ในด้านนี้เช่นกัน นอกจากลดภาษีนำเข้าส่งออกมากขึ้นแล้ว จีนยังเสนอให้สองฝ่ายเริ่มเจรจาการค้าด้านการบริการ และผลักดันการเปิดวงการลงทุนให้กว้างขึ้น พยายามให้ยอดการค้าระหว่างสองฝ่ายบรรลุถึง 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2020 และเพิ่มการลงทุนต่อกัน 1.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯในช่วง 8 ปีข้างหน้า
(yim/cici)