สำนักข่าวซินหวารายงานว่า เมื่อวันที่ 27 มกราคมที่ผ่านมาเป็นวันรำลึก "การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ระหว่างประเทศ" และเป็นวันรำลึกการปลดแอกค่ายกักกันเอาชวิตซ์ด้วย วันเดียวกัน เยอรมนี โปแลนด์ และประเทศอื่นๆ ในยุโรปต่างจัดกิจกรรมรำลึก เพื่อทบทวนประวัติศาสตร์ และไว้อาลัยผู้เสียชีวิตในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวของนาซีและค่ายกักกันเอาชวิตซ์
ทำเนียบประธานาธิบดี ทำเนียบนายกรัฐมนตรี อาคารกระทรวงต่างๆ และองค์กรต่างๆ ต่างลดธงครึ่งเสา พร้อมมีกิจกรรมรำลึกต่างๆ ในกรุงเบอร์ลินด้วย บ่ายวันเดียวกัน รัฐสภาเยอรมันจัดพิธีไว้อาลัย บุคคลสำคัญและชาวเยอรมันร่วมพิธีดังกล่าวเพื่อทบทวนประวัติศาสตร์ร่วมกัน
ปีนี้เป็นการครบรอบ 69 ปีแห่งการปลดแอกค่ายกักกันเอาชวิตซ์ วันเดียวกัน ผู้แทนจากหลายสิบประเทศได้รวมตัวในเมืองเอาชวิตซ์ของโปแลนด์ เพื่อร่วมกิจกรรมรำลึก
ค่ายกักกันเอาชวิตซ์เป็นค่ายกักกันที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาค่ายกักกันทั้งหมดกว่า 1,000 แห่งที่ประเทศเยอรมนีนาซีสร้างขึ้นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กักขังผู้คนกว่าล้านคน ซึ่งรวมถึงชาวยิวจำนวนมหาศาลถูกสังหารชีวิตที่นี่
เมื่อวันที่ 7 ธันวาคมปี 1970 นายวิลลี บรันดต์ อดีตนายกรัฐมนตรีเยอรมนีเยือนโปแลนด์ และคุกเข่าลงหน้าอนุสาวรีย์รำลึกผู้ประสบภัยชาวยิว เพื่อไว้อาลัยผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว ทั่วโลกสะเืืทือนใจต่อเหตุการณ์นี้
ศาสตราจารย์โทมาลา ผู้เชี่ยวชาญปัญหาเยอรมนีของโปแลนด์ และนางแคเธอรีนภรรยาของเขาเป็นพยานที่ได้เห็นการฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างโปแลนด์กับเยอรมนี เธอกล่าวว่า การกระทำของนายวิลลี บรันดต์ อาจทำให้ชาวเยอรมันบางคนรู้สึกขายหน้า แต่กลับทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศดีขึ้นอย่างแท้จริง และทำให้ชาวโลกมองเยอรมนีดีขึ้น
ศาสตราจารย์โทมาลา เห็นว่า สงครามกลายเป็นประวัติศาสตร์แล้ว แต่คนรุ่นหลังต้องจดจำประสบการณ์จากสงครามให้แม่นยำ หากผู้นำญี่ปุ่นมีความกล้าหาญเช่นเดียวกับนายวิลลี บรันดต์ เชื่อว่าความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับประเทศเพื่อนบ้านที่เคยถูกญี่ปุ่นรุกรานนั้นย่อมจะดีขึ้น เป็นผลดีดีต่อเอเชียตะวันออก และโลกด้วย
Nune/Ldan