สหรัฐฯและสหภาพยุโรปมีท่าทีต่างกันเกี่ยวกับการคว่ำบาตรรัสเซีย
  2014-03-06 17:36:58  cri

วันที่ 1 มีนาคมนี้ วุฒิสภารัสเซียมอบอำนาจแก่นายวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียในการใช้กำลังทหารต่อยูเครน ทั้งนี้ทำให้ยุโรปและสหรัฐฯเกิดความไม่พอใจอย่างรุนแรง แต่สหภาพยุโรปกับสหรัฐฯมีท่าทีแตกต่างกันเกี่ยวกับการคว่ำบาตรรัสเซีย โดยต่างมีแผนของตน จึงยังไม่สามารถร่วมกันกดดันรัสเซียได้อย่างแท้จริง

เมื่อเร็วๆนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับรัสเซียเกิดความตึงเครียดเนื่องจากปัญหายูเครน วันที่ 2 มีนาคมที่ผ่านมา รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯประกาศจะยับยั้งการประชุมสุดยอดกลุ่มจี 8 ซึ่งจะจัดขึ้นในเมืองโซชิของรัสเซียเดือนมิถุนายนปีนี้ ขณะเดียวกัน จะหยุดการให้วีซ่าแก่ชาวรัสเซีย และจะคว่ำบาตรรัสเซียในด้านเศรษฐกิจและการค้า เพื่อบังคับให้รัสเซียเปลี่ยนการกระทำในขณะนี้

วันที่ 3 มีนาคมนี้ ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศสหภาพยุโรปประกาศว่า ประเทศสมาชิกกลุ่มจี 8 จะหยุดการเตรียมตัวเพื่อจัดการประชุมสุดยอดจี 8 แต่ไม่ได้เกี่ยวโยงไปถึงการหยุดให้วีซ่ากับรัสเซีย เพียงแต่ขู่ว่า สหภาพยุโรปจะใช้มาตรการขั้นต่อไปต่อรัสเซียอีก

นักวิเคราะห์เห็นว่า แม้สหรัฐฯกับสหภาพยุโรปมีท่าทีแตกต่างกันต่อรัสเซีย แต่สองฝ่ายยังไม่หวังจะทำลายความสัมพันธ์กับรัสเซียโดยสิ้นเชิง

วันที่ 4 มีนาคมนี้ นายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯระบุว่า ขอแต่ให้ไม่ใช้กำลังทหารกับยูเครนและไม่แทรกแซงกิจการภายในของประชาชนยูเครน ยูเครนก็จะเป็นมิตรของทั้งประเทศตะวันตกและรัสเซียได้ ด้านสหภาพยุโรป แม้ว่าบางประเทศยืนหยัดท่าทีแข็งกร้าวต่อรัสเซีย แต่อังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมนี ซึ่งเป็นประเทศที่มีอิทธิพลสำคัญในสหภาพยุโรปยังสงวนท่าทีอยู่ สหภาพยุโรปไม่หวังจะคว่ำบาตรรัสเซียอย่างรุนแรงเช่นเดียวกันสหรัฐฯ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบทางลบต่อประเทศตน การนำเข้าทรัพยากรก๊าซธรรมชาติของสหภาพยุโรป 35% มาจากรัสเซีย สหภาพยุโรปจึงไม่หวังจะเป็นปฏิปักษ์กับรัสเซียโดยสิ้นเชิง

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040