สำนักข่าวซินหวารายงานว่า วันที่ 16 มีนาคมนี้ ตามเวลาท้องถิ่น สาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมียจัดการลงประชามติ เรื่องจะให้ไครเมียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียหรือไม่ ผลการลงประชามติจะประกาศอย่างเป็นทางการในวันนี้ (17 มีนาคม ) นายมีฮาอีร์ มาเลเซิฟ ประธานคณะกรรมการจัดการลงประชามติของไครเมียแถลงหลัง เสร็จสิ้นการลงประชามติว่า ประชากร 82.71% ได้เข้าร่วม ผู้ที่ต้องการให้ไครเมียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียสูงถึง 95.5% วันดียวกัน กลุ่มผู้ชุมนุมในบริเวณจัตุรัสอิสรภาพ กลางกรุงเคียฟ เมืองหลวงยูเครนเรียกร้องให้สร้างความเป็นเอกภาพและ สันติภาพของประเทศชาติ ขณะที่ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยุโรป และสหรัฐกำลังทวีความรุนแรงขึ้น โดยนายปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียเน้นว่า รัสเซียเคารพผลการลงประชามติของประชาชนไครเมีย การลงประชามติครั้งนี้เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความปรารถนาที่แท้ จริงของประชาชนไครเมีย ทั้งนี้ สอดคล้องกับบรรทัดฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎบัตรสหประชาชาติ ซึ่งยึดมั่นในหลักการให้ประชาชนทุกภาคส่วนมีความเสมอภาคเท่า เทียมกัน และมีสิทธิ์ตัดสินใจเลือกทางเดินของตน ขณะที่นายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวว่า การลงประชามติในไครเมียเกิดขึ้นภายใต้การคุกคามทางทหารของรัสเซีย และละเมิดรัฐธรรมนูญของยูเครนด้วย สหรัฐฯ และประชาคมโลกจึงไม่สามารถยอมรับผลการลงประชามติครั้งนี้ได้ อย่างแน่นอน ปฏิบัติการของรัสซียได้ทำลายอธิปไตย และบูรณภาพเหนือดินแดนของยูเครน สหรัฐฯจะใช้ปฏิบัติการบางอย่าง เพื่อให้รัสเซียต้องทดแทนที่สูงกว่า
วันเดียวกัน นายเฮอมัน ฟาน รอมปุย ประธานคณะมนตรียุโรป และนายโฮเซ มานูเอล บาร์โรโซ ประธานคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปร่วมกันออกแถลงการณ์ทางเว็บไซต์ของทางการสหภาพยุโรปว่า การลงประชามติของไครเมียครั้งนี้เป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญของ ยูเครน และกฎหมายระหว่างประเทศ สหภาพยุโรปจะยอมรับผลการลงประชามติครั้งนี้ไม่ได้ การแก้วิกฤตยูเครนในขณะนี้จะต้องดำเนินการบนพื้นฐานแห่งการ เคารพอธิปไตย และบูรณภาพเหนือดินแดนของยูเครน แถลงการณ์ยังประณามไครเมียทำการลงประชามติโดยไม่ยอมรับฟัง ความเห็นของยุโรป อีกทั้งเรียกร้องให้รัสเซียถอนกองกำลังทหารส่วนที่ไม่ควรประจำการอยู่ ในฐานทัพเรือทะเลดำตามที่ระบุไว้ในข้อตกลงออกจากไครเมียทันที รวมทั้งให้รัสเซียและยูเครนจัดการเจรจาโดยตรงโดยเร็ว
จากสถานการณ์ของยูเครนในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาเห็นได้ชัดว่า การแก้วิกฤตยูเครนต้องใช้วิถีทางการเมือง นอกจากนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องมีความยับยั้งชั้งใจ และมีความอดทน ขณะนี้ ต้องจัดตั้งกลไกแก้ไขข้อพิพาทในยูเครนโดยเร็ว เพื่อสนับสนุนให้เกิดการเจรจาระหว่างคู่กรณี โน้มน้าวให้คู่ขัดแย้งเกิดความปรองดองกัน และหลีกเลี่ยงไม่ให้วิกฤตทวีความรุนแรงขึ้น ถึงแม้ว่าขณะนี้ นายบารัค โอบามา และนายปูติน ยังคงมีความขัดแย้งกันมาก แต่ทั้งสองฝ่ายต่างได้แสดงว่า จะร่วมกันหาทาง ออก เพื่อยุติข้อขัดแย้งในยูเครน
(YIN/cai)