ปีหลังๆ นี้ ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การแลกเปลี่ยนบุคลากรและวัฒนธรรมระหว่างจีน-อาเซียนพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้แผนดำเนินความร่วมมือด้านเศรษฐกิจรอบอ่าวเป่ยปู้มี ความชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากขึ้น เมื่อวานนี้(15 พฤษภาคมนี้ ) การประชุมฟอรั่มเกี่ยวกับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจรอบอ่าวเป่ยปู้จัดขึ้นที่เมืองหนานหนิง เขตปกครองตนเองชนเผ่าจ้วงกว่างซีของจีน เจ้าหน้าที่รัฐบาล นักวิชาการจากจีนและประเทศรอบอ่าวเป่ยปู้พากันแสดงความคิด เห็นต่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจอ่าวเป่ยปู้
โดยนายเจี่ยง เจิ้งหวา อดีตรองประธานคณะกรรมการประจำสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีนกล่าวว่า การพัฒนาความร่วมมือด้านเศรษฐกิจรอบอ่าวเป่ยปู้ในระดับลึกเป็น ความต้องการเร่งด่วนสำหรับการยกระดับเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน และมีความหมายสำคัญยิ่งต่อการสร้างเส้นทางสายไหมทางทะเลยุคใหม่ รัฐบาลจีนมุ่งมั่นส่งเสริมการพัฒนายุทธศาสตร์ความสัมพันธ์ฉันหุ้นส่วนกับอาเซียน ทำให้การพัฒนาความร่วมมือด้านเศรษฐกิจรอบอ่าวเป่ยปู้มีอนาคต กว้างไกล และมีโอกาสการพัฒนามากขึ้น
เขตพัฒนาความร่วมมือด้านเศรษฐกิจอ่าวเป่ยปู้ประกอบด้วยกว่างซีของจีน เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และบรูไน เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมานี้ ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสจากเขตรอบอ่าวเป่ยปู้มีมติผ่านกรอบ ยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจรอบอ่าวเป่ยปู้ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ว่า ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจรอบอ่าวเป่ยปู้ภายใต้กรอบความร่วมมือระ หว่างจีน-อาเซียนเริ่มดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม
นายกาว เย่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์จีนกล่าวว่า สำหรับการดำเนินความร่วมมือด้านเศรษฐกิจรอบอ่าวเป่นปู้ในขั้น ต่อไป ภาคีความร่วมมือทุกฝ่ายจะต้องเร่งพัฒนาฐานโลจิสติกส์ตามท่าเรือสำคัญๆ พัฒนานิคมอุตสาหกรรมบริเวณท่าเรือ และการประมงชายฝั่ง รวมถึงการพัฒนากิจการด้านการเงิน ทั้งนี้เพื่อให้ความร่วมมือสามารถประสบความสำเร็จโดยเร็ว
ด้านนายเวิง เมิ่งหย่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคมนาคมจีนกล่าวว่า ต้องเร่งดำเนินโครงการเชื่อมโยงทางทะเลระหว่างประเทศภาคี ในกรอบความร่วมมือรอบอ่าวเป่ยปู้ โดยสนับสนุนสมาคมและบริษัทขนส่งทางทะเลดำเนินการแลกเปลี่ยน ความร่วมมือ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่การขนส่งทางทะเลระหว่างกันมากขึ้น ด้านนายเฉิน อู่ ประธานเขตปกครองตนเองชนเผ่าจ้วงกว่างซีกล่าวว่า ประเทศรอบอ่าวเป่ยปู้ต้องกระชับความร่วมมือด้านการเงิน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับการลงทุนระหว่างกัน นอกจากนี้ ยังต้องพยายามสร้างระบบการเงินในเขตรอบอ่าวเป่ยปู้ให้สอดคล้องกับการสร้างเส้นทางสายไหมทางทะเล
(IN/cai )