สอง) การท้าทายของเวียดนาม
หลังจากจีนใช้งานแท่นดังกล่าวแล้ว เวียดนามได้ส่งเรือต่างๆ รวมทั้งเรือติดอาวุธด้วยมาก่อกวนการดำเนินงานของจีนอย่างรุนแรงทั้งพุ่งชนเรือปฏิบัติงานราชการจีน และส่งหน่วยมนุษย์กบ วางสิ่งกีดขวาง เช่น แห และวัสดุลอยน้ำจำนวนมากในน่านน้ำทะเลรอบๆ จนถึงเวลาประมาณ 17.00 น. ของวันที่ 7 มิถุนายน เรือของเวียดนามในน่านน้ำโดยรอบมีมากถึง 63 ลำ รุกล้ำเข้าเขตกำหนดห้าม และชนเรือปฏิบัติงานราชการจีนกว่า 1,416 ครั้ง
การกระทำดังกล่าว ละเมิดอธิปไตยของจีน ทำลายสิทธิ์คุ้มครองอธิปไตยและปกป้องผลประโยชน์ในดินแดนของจีน เป็นการคุกคามต่อความปลอดภัยของประชาชนจีนและแท่นขุดเจาะ ผิดหลักการ "กฎบัตรสหประชาชาติ" "สนธิสัญญาว่าด้วยกฎหมายทางทะเลของสหประชาชาติ" ที่ประกาศใช้เมื่อปี 1982 ผิดต่อ"สนธิสัญญาว่าด้วยการยับยั้งปฏิบัติการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในการเดินเรือ" และ "พิธีสารว่าด้วยการยับยั้งปฏิบัติการที่เป็นภัยต่อแท่นขุดเจาะ" เป็นต้น ทำลายอิสระภาพและความปลอดภัยของการเดินเรือในน่านน้ำที่เกี่ยวข้อง เป็นภัยต่อการรักษาสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาค
นอกจากก่อกวนการปฏิบัติงานของบริษัทจีนด้วยกำลังรุนแรงแล้ว เวียดนามยังปล่อยให้ประชาชนจัดการประท้วงต่อต้านจีน เมื่อกลางเดือนพฤษภาคมปีนี้ ซึ่งมีชาวเวียดนามหลายพันคนเข้าร่วมก่อเหตุจลาจลต่อบริษัททุนจีน ทำให้มีประชาชนจีน 4 คนเสียชีวิตและมีชาวจีนได้รับบาดเจ็บกว่า 300 คน สร้างความเสียหายด้านทรัพย์สินจำนวนมหาศาล