นางเซอ จื่อชิง ผู้รอดชีวิตจากเหตุการสังหารหมู่หนานจิงกล่าวด้วยความตื่นเต้นว่า การยื่นเอกสารต่อสหประชาชาติเป็นเรื่องที่ดีมาก จะทำให้ชาวโลกรู้เหตุการณ์นี้มากขึ้น รู้ว่าทหารญี่ปุ่นเคยมีพฤติกรรมเหี้ยมโหดทารุณขนาดไหน
นายจู เฉิงซาน ผู้อำนวยการหอรำลึกผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สังหารหมู่หนานจิงกล่าวว่า การยื่นเอกสารบันทึกประวัติศาสตร์ก็เพื่อรักษาความทรงจำเอาไว้ ไม่ให้โศกนาฏกรรมเกิดขึ้นอีก การที่องค์การยูเนสโกจัดบัญชีรายชื่อมรดกทางความทรงจำนานาชาติ เป็นการรักษาเอกสารบันทึกประวัติศาสตร์ของประเทศต่างๆ ซึ่งนับวันจะเสื่อมสภาพและค่อยๆ สูญหายไป ซึ่งจะทำให้ความทรงจำของมนุษยชาติอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์มากขึ้น ในฐานะที่เป็นโศกนาฏกรรมครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 เหตุการณ์สังหารหมู่หนานจิงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการช่วยให้ทั่วโลกจดจำบทเรียนทางประวัติศาสตร์เอาไว้
ขณะนี้ กระบวนการยื่นเอกสารบันทึกประวัติศาสตร์เหตุการณ์สังหารหมู่หนานจิงเพื่อขอเข้าบัญชีรายชื่อมรดกความทรงจำนานาชาติของยูเนสโก กำหลังดำเนินไปตามขั้นตอน หากทุกอย่างราบรื่น ปีหน้าก็จะได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการ และพอดีปีหน้าก็จะเป็นการรำลึกการครบรอบ 70 ปี การประสบชัยชนะของสงครามต่อต้านฟาสซิสต์ของทั่วโลกและสงครามต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่นแห่งประชาชนจีน
การยื่นเอกสารต่อสหประชาชาติครั้งนี้ หอจดหมายเหตุกลาง หอจดหมายเหตุหมายเลข 2 ของจีน หอรำลึกผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สังหารหมู่หนานจิงและหอจดหมายเหตุหนานจิงเป็นต้นรวม 7 หน่วยงานร่วมกันยื่นเอกสารบันทึกประวัติศาสตร์ 11 ชุด ประกอบด้วยฟิลม์ รูปภาพและเอกสารที่เกิดขึ้นระหว่างปี 1937 - 1948 ซึ่งล้วนผ่านการพิจารณาและคัดเลือกอย่างรอบคอบ เอกสารเหล่านี้ได้บันทึกประวัติศาสตร์ในช่วงเวลานั้นไว้อย่างชัดเจนและมีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากมีข้อมูลมากมายที่สามารถยืนยันซึ่งกันและกัน จึงถือเป็นหลักฐานที่ครบสมบูรณ์