เมื่อวันที่ 27 สิงหาคมนี้ มีการประชุม "สุขภาพและสภาพภูมิอากาศ" นานาชาติครั้งแรกที่กรุงเจนีวา ซึ่งประเด็นสำคัญคือทั่วโลกใช้มาตรการเพื่อรับมือกับผลกระทบต่อสุขภาพจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม
ผู้รับผิดชอบองค์การต่างๆ ของสหประชาชาติ รัฐมนตรีอนามัยและสภาพแวดล้อม ผู้เชี่ยวชาญวงการสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาอย่างยั่งยืน และผู้แทนภาคเอกชนต่างๆ จำนวนกว่า 300 คนเข้าร่วมการประชุม ซึ่งจัดเป็นเวลา 3 วัน และมี 2 ประเด็นหลัก หนึ่ง การส่งเสริมการสร้างสรรค์ของหน่วยงานอนามัยเพื่อรับมือกับความเสี่ยงทางสุขภาพจากการเปลี่ยนแปลงต่อสภาพภูมิอากาศ สอง ลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และยกระดับสุขภาพอนามัย
องค์การอนามัยโลกระบุว่า แม้ทั่วโลกอุ่นขึ้นอาจจะมีประโยชน์บ้าง เช่นลดจำนวนผู้เสียชีวิตในฤดูหนาว เพิ่มยอดผลผลิตอาหาร แต่มีผลกระทบทางลบต่อสุขภาพ เพราะจะกระทบถึงปัจจัยทางสังคมและสภาพแวดล้อมหลายประการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ เช่นอากาศที่สะอาด น้ำดื่มที่ปลอดภัย อาหารที่พอเพียงและที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัย
อากาศที่ร้อนมากจะเพิ่มโอกาสในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ มุลพิษทางอากาศในตัวเมืองทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณปีละ 1.2 ล้านคน นอกจากนี้ ยังมีโรคอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นจะเพิ่มอัตราการติดโรคร้ายแรง
อย่างไรก็ตาม ถ้าสามารถใช้มาตรการที่มีผลอย่างแข็งขัน ยังสามารถขัดขวางแนวโน้มดังกล่าว หรือทำให้พัฒนาช้าลง อาทิ การเปลี่ยนนโยบายด้านพลังงานและการขนส่งสามารถลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก เพียงประเด็นนี้ก็จะสามารถช่วยชีวิตได้นับล้านคน นางมาเรีย เนรา อธิบดีกรมสาธารณสุขและสภาพแวดล้อมองค์การอนามัยโลก กล่าวว่า เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานสาธารณสุขตระหนักดีว่า การใช้มาตรการลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก ก็จะลดมุลพิษทางอากาศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของประชาชนทั่วโลกอย่างมาก
In/Chu