สื่อมวลชนเผยว่า การที่สิงคโปร์จัดซื้อลูกโป่งดังกล่าวมีสำเหตุสำคัญ 2 ประการ หนึ่ง เพื่อเพิ่มพื้นที่เฝ้าสังเกตการณ์ที่สถานีเรดาห์ภาคพื้นดินตรวจไม่ถึง เนื่องจากสิงคโปร์มีพื้นที่แคบและมีอาคารสูงเป็นจำนวนมาก อีกทั้งไม่สามารถตั้งสถานีเรดาห์บนภูเขาที่ไกลจากตัวเมืองเช่นประเทศอื่นๆ ดังนั้น การส่งสัญญาณเตือนภัยจากเรดาห์จึงถูกสิ่งก่อสร้างบัง นอกจากนี้ เพื่อรักษาความมั่นคงเหนือน่านฟ้า ต้องมีเครื่องบินเตือนภัยบินอยู่ตลอดเวลา ซึ่งค่าใช้จ่ายสูงมาก พลเอกหวง หยุ่งหง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสิงคโปร์กล่าวว่า การใช้ลูกโป่งแทนเครื่องบินบางส่วน สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง29 ล้านเหรียญสิงคโปร์(ราว 23.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ต่อปี เพราะฉะนั้น สาเหตุประการที่ 2 ก็คือ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย
ลูกโป่งเหล่านี้ผลิตโดยสหรัฐอเมริกา แต่ละลูกยาว 55 เมตร ควบคุมโดยเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดินจำนวน 8 คน สามารถลอยขึ้นสู่ท้องฟ้าสูงสุดถึง 600 เมตร ครอบคลุมน่านฟ้าและัน่านน้ำทั้งหมดของสิงคโปร์ อีกทั้งสามารถตรวจจับการเคลื่อนไหวระยะไกลได้ จึงทำให้มีระยะเวลาการเตือนภัยยาวขึ้น ทหารจะได้มีเวลาเตรียมความพร้อมยามพบว่ามีศัตรูกำลังเข้าประชิด
แต่ไหนแต่ไรมา สหรัฐอเมริกาก็หวังส่งทหารหน่วยพิเศษหรือกองเรือไปประจำการที่ช่องแคบมะละกาโดยอ้างปกป้องความปลอดภัยของการเดินเรือมาโดยตลอด แต่ถูกมาเลเซียและอินโดนีเซียคัดค้าน แต่จุดยืนของสิงคโปร์ในปัญหานี้ตรงกันข้ามกับมาเลเซียกับอินโดนีเซีย จึงชวนให้เกิดข้อสงสัยว่า การปล่อยลูกโป่งเฝ้าสังเกตการณ์เหล่านี้ขึ้นสู่น่านฟ้าสิงคโปร์ในครั้งนี้ มีส่วนเกี่ยวข้องกับสหรัฐฯ หรือไม่