การประชุมผู้นำเอเปคปี 2014 ปิดฉากลงด้วยความสำเร็จ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายนที่ผ่านมา นายหวัง อี้ รัฐมนตรีว่าการทระทรวงการต่างประเทศจีนกล่าวว่า การประชุมผู้นำเอเปคปักกิ่งครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบของจีนในฐานะประเทศใหญ่ เราได้บรรลุข้อตกลงสำคัญ ๆ หลายประการในการแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก และปัญหาการพัฒนาของกลุ่มเอเปค ทั้งนี้ มีความหมายที่ลึกซึ้งยิ่ง การประชุมผู้นำเอเปคปักกิ่งเป็นความสำเร็จของปฏิบัติการทางการทูตที่มีเอกลักษณ์ของจีน เป็นร่องรอยทางประวัติศาสตร์ที่ยากจะลืม
นายหวัง อี้กล่าวว่า ระหว่างการประชุมผู้นำเอเปคมีข้อตกลงเกี่ยวกับเสาหลักของการพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก ได้บุกเบิกขอบเขตใหม่ความร่วมมือในการปัญหาทั่วโลก โดยเฉพาะปฏิญญาปักกิ่งว่าด้วยการปราบปรามคอรับชั่นของกลุ่มเอเปค ทุกฝ่ายเห็นพ้องกันว่าจะประยุกต์ใช้เวทีและกลไกความร่วมมือปราบปรามคอรับชั่นให้เต็มที่ ส่งเสริมความร่วมมือและประสานงาน การที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงประกาศก่อตั้งกองทุนเส้นทางสายไหมเพื่อช่วยส่งเสริมการสร้างสรรค์ " หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง "นั้น ทำให้ " หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง "เป็นที่สนใจและยอมรับกันกว้างยิ่งขึ้นจากสังคมโลก
ระหว่างสัปดาห์เอเปค ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงได้ร่วมกิจกรรมทวิภาคีและพหุภาคีรวมประมาณ 80 ครั้ง พบปะกับผู้นำประเทศและผู้นำรัฐบาลรวม 22 คน ได้บรรลุข้อตกลงทวิภาคีกว่า 70 ฉบับ ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก อาทิ จีน – สหรัฐประกาศรายกายผลสำเร็จ 27 รายการ ข้อตกลงระหว่างจีน – รัสเซียว่าด้วยท่อส่งก๊าซธรรมชาติสายตะวันตก ข้อตกลงการค้าเสรีจีน – เกาหลีใต้ ก้าวสำคัญในการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างจีน – ญี่ปุ่นให้ดีขึ้น ฯลฯ นายหวังอี้เห็นว่า กิจกรรมทางการทูตครั้งหนึ่งของผู้นำจีนได้ส่งเสริมการพัฒนาความสำพันธ์ทวิภาคีระหว่างจีนและประเทศสำคัญในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิกใหม่
เมื่อกล่าวถึงการพบปะผู้นำจีน – สหรัฐ ฯ ซึ่งเป็นที่จับตาของทั่วโลกนั้น นายหวัง อี้กล่าวว่า ความหมายที่สำคัญที่สุดคือ การพบปะของผู้นำทั้งสองที่แอนเนนเบิร์กปีที่แล้ว ได้ตกลงเป้าหมายร่วมมือกันสร้างความสัมพันธ์รูปแบบใหม่ของมหาประเทศระหว่างจีน – สหรัฐ ฯ ปีนี้ บนพื้นฐานดังกล่าว ได้กำหนดทิศทางในการบรรลุเป้าหมายนี้ยิ่งขึ้น ข้อเสนอหกข้องของประธานาธิบดีสี จิ้นผิงได้รับการยอมรับจากฝ่ายสหรัฐ ฯ อันเป็นการเพิ่มเนื้อหาใหม่ ๆ ในการสร้างความสัมพันธ์รูปแบบใหม่ของมหาประเทศระหว่างจีน – สหรัฐ ฯ
In/Zi