การประชุมเอเปคประจำปี 2014 สิ้นสุดลงแล้ว กองทุนเส้นทางสายไหมจำนวน 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นหลักประกันของการสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานในขอบเขตทั่วโลกที่เสนอโดยจีน นับเป็นองค์กรการเงินที่ 4 ที่มีเป้าหมายสำคัญคือสนับสนุนการสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่เสนอโดยจีนต่อจากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งใหม่ (New Development Bank - NDB) ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งองค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (SCO Development Bank) และธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank)
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตที่ติดต่อกับเส้นทางสายไหมทางทะเลในศตวรรษที่ 21 และภูมิภาครอบมหาสมุทรแปซิฟิก และเป็นพื้นที่ชุมทางของการติดต่อและเชื่อมต่อกัน แม้ยังคงมีความท้าทายหลายประการ แต่เช่นเดียวกับคำกล่าวของประธานาธิบดีสี จิ้นผิงที่ว่า บรรพบุรุษของเราได้สร้างสิ่งมหัศจรรย์ด้านการติดต่อและเชื่อมต่อกันมากมายในภาวะยากลำบาก เส้นทางสายไหมก็เป็นแบบอย่างที่ดี
ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความต้องการร่วมกันในการสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและการติดต่อและเชื่อมต่อกัน พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไทยกล่าวว่า แม้ว่าไทยจะมีระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่ค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ด้วยความที่เป็นศูนย์กลางของอาเซียน จะต้องปรับปรุงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานให้ดียิ่งขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประเทศอาเซียนในการติดต่อกันทางเศรษฐกิจ
ความได้เปรียบของประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือภูมิประเทศ ค่าแรงงานที่ถูกและมีนโยบายให้สิทธิพิเศษ นายโดโรธี ซีต (Dorothy Seet)ประธานหอการค้าสิงคโปร์เน้นถึงความสำคัญของสิงคโปร์ในการเป็นชุมทาง และเสนอให้วิสาหกิจจีนเข้าไปลงทุนด้านโลจิสติกส์ในสิงคโปร์
นายเฟเดรีโค อาร์. โลเปส(Federico R. Lopez) ประธานผู้จัดการ Philippines first holding company
วิสาหกิจการลงทุนขนาดใหญ่ที่สุดของฟิลิปปินส์กล่าวว่า ความได้เปรียบใหญ่ที่สุดของฟิลิปปินส์คือ มีแรงงานจำนวนมากและมีค่าแรงงานต่ำ ซึ่งจะดึงดูดวิสาหกิจจำนวนมากไปลงทุน
ด้านนโยบายการให้สิทธิพิเศษนั้น ถือเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นของประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการดึงดูดทุนจีน เช่น ไทยจะสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษ 17 แห่งในพื้นที่ชายแดน โดยพลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะกล่าวว่า ผู้ลงทุนสามารถได้แรงงานจำนวนมากจากไทยและประเทศรอบข้าง และไทยยังจะลดหรือยกเว้นภาษีในเขตดังกล่าวด้วย
Toon/Lr