หนังสือพิมพ์กว่างซีรึเป้ารายงานว่า ปัจจุบัน ในซุปเปอร์มาร์เกตขนาดใหญ่ของเมืองหนานหนิง นอกจากข้าวสารจากไทยแล้ว ข้าวสารจากประเทศที่ปลูกและส่งออกข้าวต่างๆ เช่น กัมพูชา ลาว และเวียดนามต่างพากันเข้าสู่ตลาดหนานหนิง ค่อยๆ ได้รับความนิยมจากชาวจีนด้วยความได้เปรียบของตน ถูกเสิร์ฟขึ้นโต๊ะอาหารของชาวจีนทั่วไปมากยิ่งขึ้น
ประเทศอาเซียนต่างๆ เช่น ไทย ลาว เวียดนามและกัมพูชาเป็นประเทศเกษตรกรรมมาช้านาน มีเงื่อนไขทางธรรมชาติที่ดี ต่างผลิตข้าวสารที่มีคุณภาพดี และได้ส่งออกไปต่างประเทศ แต่เนื่องจากสภาพอากาศและภูมิประเทศที่ต่างกัน ความหลากหลายของสายพันธุ์ ทำให้รูปลักษณ์ภายนอกและรสชาติที่ผลิตในประเทศต่างๆ ไม่เหมือนกัน ต่างมีเอกลักษณ์พิเศษของตัวเอง
เขตปกครองตนเองชนเผ่าจ้วงกว่างซีติดกับประเทศอาเซียนหลายประเทศ มีความได้เปรียบทางภูมิประเทศ ทำให้ชาวเมืองหนานหนิงสามารถชิมข้าวสารต่างประเทศที่สดที่สุดและมีราคาพิเศษกว่าด้วย ข้าวสารของไทยเข้าตลาดกว่างซีแรกสุดและมีชื่อเสียงที่สุด ได้กลายเป็นตัวแทนของข้าวสารเกรดสูง ส่วนข้าวสารเวียดนามได้คุมตลาดปริมาณนำเข้าข้าวสารของกว่างซีมากกว่าร้อยละ 90 ด้วยความหลากหลายของประเภทและราคาที่ถูก ส่วนข้าวสารกัมพูชามีข้อได้เปรียบที่รสชาติดั้งเดิมเพราะไม่มีสารแต่งเติมและไม่ใช้น้ำยาทวีความขาวใดๆ ส่วนข้าวสารลาวเข้าตลาดจีนหลังที่สุด แต่เนื่องจากมีวิธีการปลูกแบบดั้งเดิม จึงได้รับความนิยมเช่นกัน
ในเคาน์เตอร์จำหน่ายข้าวสารของซุปเปอร์มาร์เกตแห่งหนึ่งที่อยู่บริเวณสนามจิงหูของเมืองหนานหนิง ข้าวสารหลายอย่างจากประเทศอาเซียนได้วางขายด้วยกันกับข้าวสารผลิตในจีน เมื่อดูจากภายนอก ถุงข้าวสารที่มาจากประเทศอาเซียนได้มีตัวหนังสือของประเทศและภาพที่แสดงถึงประเพณีของประเทศตน ราคาแพงกว่าข้าวสารจีน เฉลี่ยแล้วกิโลกรัมละ 15-20 หยวน
นอกจากจำหน่ายในเมืองหนานหนิงแล้ว ข้าวสารจากประเทศอาเซียนที่นำเข้าจากท่าเรือกว่างซียังไปจำหน่ายที่พื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศจีน ตามสถิติของสำนักงานควบคุมคุณภาพตรวจสอบและกักกันโรคกว่างซี ข้าวสารที่นำเข้าจากท่าเรือกว่างซีมีแนวโน้มเติบโตอย่างมาก ปริมาณนำเข้าในเดือนมกราคมถึงกันยายนรวมแล้วมี 303 งวด 930,000 ตัน ยอดมูลค่า 44.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เติบโตขึ้นร้อยละ 441 ร้อยละ 200 และร้อยละ 226 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้ว
(Yim/zheng)