บทความดังกล่าวระบุว่า อาเซียนจากเดิมเป็นองค์การเรียบๆ ที่มุ่งเพียงลดอัตราภาษีศุลกากรให้ต่ำลง พัฒนามาเป็นฐานการผลิตที่มีผู้บริโภคจำนวน 600 ล้านคน และมีกำลังแข่งขันกับกลุ่มเศรษฐกิจรายใหญ่ที่สุดของโลก
เป็นสิ่งที่ไม่ต้องสงสัยว่า อาเซียนมีศักยภาพทางเศรษฐกิจที่น่าจับตามอง และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่ประกอบด้วย 10 ประเทศจะพัฒนาเป็นกลุ่มเศรษฐกิจรายใหญ่ที่ 7 ของโลกได้ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาการค้าระหว่างประเทศของอาเซียนขยายตัวเกือบ 3 เท่า การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง บรรษัทข้ามชาติหลายแห่งต่างต้องการใช้ประโยชน์จากชนชั้นกลางที่ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงทำเลทางยุทธศาสตร์ที่อยู่ระหว่างจีน ญี่ปุ่น และอินเดีย
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมุ่งลดกำแพงที่กีดกันการหมุนเวียนของสินค้า การบริการ เงินทุน และบุคลากร สถาบันวิจัยแม็คคินซีย์ประมาณการไว้ว่า ถึงปี 2030 การดำเนินยุทธศาสตร์สร้างเศรษฐกิจอาเซียนให้เป็นหนึ่งเดียวและเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดการผลิตของโลกมากขึ้น จะช่วยให้จีดีพีของประเทศอาเซียนเพิ่มขึ้นปีละ 280,000-625,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งจะมีส่วนกระตุ้นการบริโภคของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสร้างการเติบโตที่หมุนเวียนด้วยดี
อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องใช้ความพยายามในการสร้างตลาดอาเซียนให้เป็นหนึ่งเดียว ถึงแม้ 5 ประเทศสมาชิกอาเซียนตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้ง (ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์) มีอัตราภาษีศุลกากรแทบเป็นศูนย์ในปี 2010 แล้วก็ตาม แต่ยังคงมีกำแพงที่กีดกันทางการค้าต่างๆ ต้องทุบทำลาย เช่น ข้อจำกัดการลงทุนจากต่างชาติและกรรมสิทธิ์ มาตรฐานและการกำกับดูแลที่ไม่อยู่ในเกณฑ์เดียวกัน และขั้นตอนการผ่านด่านศุลกากรที่ไร้ประสิทธิภาพ เป็นต้น
(YIM/LING)