ข่าวดังกล่าวได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง การกระทำของรัฐบาลญี่ปุ่นที่มุ่งแก้ไขตำราเรียนเพื่อปกปิดประวัติศาสตร์การรุกรานนั้นไม่ใช่เป็นครั้งแรก ยกตัวอย่าง ต้นปี 2015 นี้ สื่อญี่ปุ่นเปิดโปงว่า สำนักพิมพ์หนังสือตำราเรียนกรุงโตเกียวได้รับการอนุมัติจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมญี่ปุ่น โดยจะตัดทิ้งเนื้อความเกี่ยวกับ "หญิงบำเรอ" "การเกณฑ์แบบบังคับ" เป็นต้น ออกจากหนังสือตำราเรียนวิชาสังคมระดับมัธยมปลาย แต่การที่รัฐบาลญี่ปุ่นแสดงการทักท้วงต่อสำนักพิมพ์ต่างประเทศเกี่ยวกับปัญหาประวัติ ศาสตร์นั้น เป็นสภาพที่มีน้อยมาก
กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นประกาศแถลงการณ์ว่า เนื้อหาในตำราเรียนของสหรัฐฯ มีความผิดที่ร้ายแรง และขัดแย้งกับจุดยืนของทางการญี่ปุ่น แต่กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นไม่ได้ชี้ว่าความผิดอยู่ตรงไหน เห็นได้ชัดว่า ญี่ปุ่นไม่สามารถเสนอหลักฐานที่น่าเชื่อถือ จึงเพียงเน้นความไม่พอใจของทางการญี่ปุ่นเท่านั้น เพื่อบังคับให้สำนักพิมพ์ของสหรัฐฯ ยอมอ่อนข้อ
แต่ท่าทีของฝ่ายสหรัฐฯ ตรงกันข้ามกับความคาดหวังของญี่ปุ่น นักวิชาการที่เขียนเนื้อความเกี่ยวกับหญิงบำเรอในตำราเรียนเล่มนี้ก็แถลงต่อสื่อมวลชน โดยยืนยันว่ารัฐบาลญี่ปุ่นเคยแอบติดต่อกับเขาและสำนักพิมพ์สหรัฐฯ ดังกล่าว แต่ไม่ได้ผล สำนักพิมพ์สหรัฐฯ แห่งนี้แสดงการสนับสนุนการวิจัยและการบรรยายของนักวิชาการที่มีในการเรียบเรียงข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับหญิงบำเรอ จึงปฏิเสธข้อเรียกร้องที่ไร้เหตุผลของญี่ปุ่น ขณะเดียวกัน สื่อมวลชนสหรัฐฯ พากันเปิดเผยเนื้อความที่เกี่ยวข้องกับหญิงบำเรอในตำราเรียน อีกทั้งวิเคราะห์ความมุ่งหมายในการแก้ไขปรับปรุงหนังสือตำราเรียนของรัฐบาลญี่ปุ่น โดยชี้ให้เห็นว่า รัฐบาลนายชินโซะ อาเบะใช้ความพยายามในการลบคำบรรยายที่เกี่ยวข้องกับสงครามรุกรานของประเทศตน เพื่อปรับปรุงภาพลักษณ์ในต่างประเทศให้ดีขึ้น แต่ญี่ปุ่นควรรู้ว่า ประวัติศาสตร์ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงและปกปิดได้
(Yim/Lin)