การเจรจายุทธศาสตร์ฟิลิปปินส์-สหรัฐฯ ครั้งนี้เป็นระดับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง 2+2 จากกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงกลาโหม
สองฝ่ายระบุในแถลงการณ์ร่วมหลังการเจรจาว่า ฟิลิปปินส์-สหรัฐฯ ตอกย้ำจะยึดหลักสนธิสัญญาว่าด้วยการร่วมป้องกันที่สองประเทศร่วมลงนามเมื่อปี 1951 โดยจะใช้มาตรการที่เอื้อต่อกันต่อไป เพื่อเสริมกำลังป้องกันประเทศและป้องกันร่วม เพิ่มความมั่งคงทางทะเลและปลูกจิตสำนึกเกี่ยวกับน่านน้ำทะเล ตลอดจนเพิ่มการบริหารความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ความพร้อมในการรับมือกับภัยพิบัติ และปฏิบัติการรับมืออย่างรวดเร็วหลังเกิดภัยพิบัติ ในการแถลงข่าวหลังการเจรจา นายแดเนียล รุสเซล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เน้นว่า การเจรจายุทธศาสตร์ทวิภาคีสหรัฐฯ-ฟิลิปปินส์ไม่ได้เจาะจงประเทศใดๆ "พันธมิตรสหรัฐ-ฟิลิปปินส์ไม่ได้เจาะจงประเทศที่ 3 หากเพื่อรักษาสันติภาพและเสถียรภาพ"
อย่างไรก็ตามแถลงการณ์ร่วมที่สองฝ่ายประกาศยังคงระบุถึงปัญหาทะเลจีนใต้ ซึ่งระบุว่า ระหว่างการเจรจาฯ ครั้งนี้ ฟิลิปปินส์กับสหรัฐฯ ได้แลกเปลี่ยนความเห็นอย่างลึกเกี่ยวกับสถานการณ์ภูมิภาคและทั่วโลก ตลอดจนการใช้มาตรการต่างๆ ประกันให้พันธมิตรฟิลิปปินส์-สหรัฐฯ "แสดงบทบาทรักษาสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาคต่อไป" สำหรับสถานการณ์ทะเลจีนใต้นั้น สำคัญต่อทั้งสองฝ่าย ข้อพิพาททะเลจีนใต้ควรแก้ไขด้วยกฎหมายระหว่างประเทศด้วยวิถีทางการทูต และสันติวิธีอื่นๆ ซึ่งรวมถึงกระบวนการระงับข้อพิพาทแบบสากล สองฝ่ายคัดค้าน "การใช้มาตรการโดยลำพังฝ่ายเดียวที่ทำให้สถานการณ์ในภูมิภาคทวีความรุนแรงขึ้น"
ทั้งนี้ สหรัฐฯ ต้องการใช้ฟิลิปปินส์ในการดำเนินยุทธศาสตร์กลับสู่เอเชียอีกครั้ง ซึ่งก็คือ กลับสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกครั้ง ขณะที่ฟิลิปปินส์เคยเป็นเมืองขึ้นของสหรัฐฯ เป็นที่ตั้งฐานทัพเรือฐานทัพอากาศที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยเหตุนี้ ฟิลิปปินส์จึงเป็นจุดหมายอันดับแรกของสหรัฐฯ ในการดำเนินยุทธศาสตร์กลับสู่เอเชียอีกครั้ง
(IN/LING)