หนังสือพิมพ์เหรินหมินรื่อเป้ารายงานว่า เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ รัฐบาลญี่ปุ่นจัด "สัมมนาผู้เชี่ยวชาญ" สำหรับเตรียมการให้นายชินโซ อาเบะตัวกล่าวปราศรัยในวาระสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ครบรอบ 70 ปี ก่อนหน้านี้ แม้ในภาพรวมนายอาเบะเคยแสดงท่าทีจะสืบทอดเจตนารมณ์ตามคำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนก่อนๆ แต่ยังไม่มีความกระจ่างชัดในการสำนึกผิดและรับผิดชอบกับประวัติการรุกรานของลัทธิทหารญี่ปุ่น แวดวงต่างๆ ของญี่ปุ่นจึงกังวลและคัดค้านจาก ดังนั้น "คำปราศรัยของนายชินโซ อาเบะ" จะยึดมั่นใน "การสำนึกผิดต่อประวัติการรุกรานและปกครองอาณานิคมของลัทธิทหารญี่ปุ่น" จึงเป็นที่จับตามองของประชาคมโลก
เมื่อปี 1995 นายมูรายามา โทมิอิจิ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นสมัยนั้น กล่าวคำปราศรัยในโอกาสครบรอบ 50 ปีสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อสำนึกผิดและขออภัยต่อ "การรุกรานและการปกครองอาณานิคม" ของลัทธิทหารญี่ปุ่น ต่อมา ในวาระครบรอบ 60 ปีสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุด นายจุนิชิโร่ โคอิซุมินายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นขณะนั้น ก็แสดงท่าทีสืบทอดการสำนักผิดเช่นกัน ทว่า หลังจากนายชินโซ อาเบะขึ้นปกครองประเทศเป็นสมัยที่ 2 แล้ว เขาเคยป่าวร้องมาหลายรอบที่จะกล่าว "คำปราศรัยใหม่ที่มุ่งสู่อนาคต" ในวาระครบรอบ 70 ปีสงครามโลกครั้งที่ 2 และมีท่าทีเลือนลางต่อการที่จะสืบทอดเจตนารมณ์ "คำกล่าวของนายมูรายามา โทมิอิจิ" อย่างสิ้นเชิงหรือไม่
นายชินโซ อาเบะร่วมการสัมมนาเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ เขาเสนอว่า คำปราศรัยใหม่ควรมีประเด็นสำคัญ 5 ประเด็ ได้แก่ หนึ่ง รับบทเรียนจากศตวรรษที่ 20 สอง ลัทธิสันติภาพ การพัฒนาเศรษฐกิจและคุณความดีต่อทั่วโลกของญี่ปุ่น สาม บรรลุสันติภาพกับประเทศเอเชียที่มีจีนกับเกาหลีใต้เป็นตัวแทน สี่ วาดอนาคตของเอเชียและโลกในศตวรรษที่ 21 และญี่ปุ่นควรมีบทบาทอย่างไร และห้า ญี่ปุ่นควรใช้มาตรการที่เป็นรูปธรรมอะไรในวาระครบรอบ 70 ปีสงครามโลกครั้งที่ 2
สำนักข่าวเกียวโตของญี่ปุ่นลงบทวิเคราะห์ว่า นายชินโซ อาเบะมีเจตคติต่อต้าน "พฤติกรรมการรุกราน" ซึ่งเป็นผลจากคำพิพากษา "การพิจารณาคดีกรุงโตเกียว(The Tokyo War Crimes Trials)" แต่สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือ ญี่ปุ่นยอมรับผลพิพากษาดังกล่าวก่อน ที่จะมีการเผยแพร่สู่ประชาคมโลก ดังนั้น ถ้าคำปราศรัยใหม่ของนายชินโซ อาเบะลบคำว่า "รุกราน" ทิ้ง ก็จะถูกตีความว่าเป็นการท้าทายกับระเบียบโลกหลังสงคราม แม้นายชินโซ อาเบะรับปากอย่างชัดเจนว่าต้องมีเนื้อหา "สำนึกผิดต่อสงครามโลก" แต่เขาจะสำนึกผิดต่ออะไรบ้างอาจจะเป็นประเด็นโต้เถียงทั้งภายในและต่างประเทศ
ขณะนี้ พรรคฝ่ายค้านต่างๆ พากันเรียกร้องนายชินโซ อาเบะให้สืบทอดเจตนารมณ์ "คำปราศรัยของนายมูรายามา โทมิอิจิ" สำนึกผิดและขออภัยต่อ "การรุกรานและการปกครองอาณานิคม" เพื่อแสดงจุดยืนที่ถูกต้องต่อประวัติศาสตร์
นายคาวาโนะ โยเฮอิ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎรของญี่ปุ่นเน้นว่า "ความเข้าใจต่อประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นเปลี่ยนแปลงทุกๆ 10 ปีไม่ได้ ใช้ถ้อยคำอะไรเขียนคำปราศรัยใหม่ของนายชินโซ อาเบะนั้น กระจ่างแจ้งมาก" ส่วนนายนัตชูโอะ ยามากูชิ หัวหน้าพรรคนว โคเมอิโตะกล่าวว่า "ปี 2015 นี้เป็นปีครบรอบ 70 ปีแห่งการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 บุคคลวงการการเมืองจะลืมเลือนประวัติศาสตร์ไม่ได้"
IN/FENG