เมื่อเร็วๆ นี้ นายโจโก วิโดโดให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า อินโดนีเซียและจีนมีโอกาสร่วมมือกันในด้านการค้าและการลงทุน มาก อินโดนีเซียต้องการให้จีนเข้ามาลงทุนในอินโดนีเซีย เพื่อช่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของอินโดนีเซีย
เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว นายโจโก วิโดโดเยือนจีนเป็นครั้งแรกในฐานะประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ช่วงที่อยู่ในประเทศจีน เขาได้เข้าร่วมการประชุมผู้นำเอเปค และเดินทางไปนครเทียนจินโดยรถไฟความเร็วสูง เขากล่าวกับสื่อมวลชนว่า เขาประทับใจในการพัฒนาอย่างรวดเร็วของจีนเป็นอย่างยิ่ง สำหรับอินโดนีเซีย จีนเป็นแบบอย่างที่ดีในการพัฒนาประเทศ เพราะว่าอินโดนีเซียก็ต้องการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกับ จีน
ปีนี้เป็นปีครบรอบ 65 ปีสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีนกับอินโดนีเซีย นายโจโค วิโกโดกล่าวว่า อินโดนีเซียและจีนเป็นมิตรกันมาช้านาน ปัจจุบัน ทั้งสองประเทศมีโอกาสที่จะยกระดับความรวมมือด้านการค้าและการ ลงทุนให้สูงขึ้น
โครงสร้างพื้นฐานที่ด้อยพัฒนาเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย แม้ว่ารัฐบาลชุดที่ผ่านมาล้วนได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครง สร้างพื้นฐาน แต่เนื่องจากมีเงินทุนไม่เพียงพอ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจึงเป็นไปอย่างเชื่องช้ามาก ปีนี้ ภายใต้การบริหารงานโดยรัฐบาลชุดใหม่ อินโดนีเซียจะลงทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในวงเงิน 22,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนับเป็นวงเงินที่สูงสุดในประวัติการณ์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
นายโจโก วิโดโด ยังกล่าวอีกว่า วัตถุประสงค์ในการเยือนจีนครั้งนี้คือ เพื่อเชิญชวนนักธุรกิจจีนให้มาลงทุนในอินโดนีเซีย และกระชับความร่วมมือระหว่างสองประเทศพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐาน เขาแสดงความเห็นว่า จีนมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีประสบการณ์ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมาก อีกทั้งยังสามารถดำเนินโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานได้อย่าง รวดเร็ว ด้วยเหตุนี้ อินโดนีเซียจึง
อยากได้ความช่วยเหลือและการสนับสนุนจากจีน โดยอยากให้จีนเพิ่มการลงทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของ อินโดนีเซีย เช่น ทางหลวง ทางรถไฟ พลังงานไฟฟ้า และท่าเรือ หากบริษัทจีนและอินโดนีเซียร่วมมือกันในด้านนี้ อินโดนีเซียก็จะสามารถแก้ไขปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานได้ เชื่อมั่นว่า รัฐบาลทั้งสองประเทศจะสนับสนุน และคอยแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นนี้อย่างเต็มที่
และต่ออินโดนีเซียเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกก่อตั้งธนาคารการเพื่อการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย นายโจโค วิโดโด แสดงความเห็นว่า หลายประเทศขาดแคลนเงินทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น อินโดนีเซียต้องการเงินทุนในด้านนี้วงเงิน 230,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่สถาบันการเงินระหว่างประเทศที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น ธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย และกองทุนการเงินระหว่างประเทศไม่สามารถสนองความต้องการของอินโดนีเซียได้ ดังนั้น การก่อตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเอเชียจึง เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจโลกได้
(TOON/cai)