งานรำลึกครบรอบ 60 ปีการประชุมเอเชีย-แอฟริกาจะจัดขึ้นที่กรุงจาการ์ตาและเมืองบันดุงของอินโดนีเซียระหว่างวันที่ 19-24 เมษายนนี้ หนังสือพิมพ์เหรินหมินรื่อเป้าฉบับวันที่ 17 ได้ตีพิมพ์บทความของ ดร. อนัด เอกุง บันยู พาร์วิดา(Anak Agung Banyu Parwita) รองอธิการบดีมหาวิทยาลัย เพรสเดนท์ หัวข้อ เจตนารมณ์บันดุงยังมีความสำคัญ
บทความระบุว่า กิจกรรมรำลึกครบรอบ 60 ปีการประชุมเอเชียแอฟริกาที่ทั่วโลกสนใจจะจัดขึ้นที่อินโดนีเซีย เมื่อ 60 ปีก่อน ในการประชุมเอเชีย-แอฟริกาจัดขึ้นที่เมืองบันดุง ผู้แทนประเทศต่างๆที่ร่วมประชุมได้แสดงเจตนารมณ์ร่วมมือกันฉันมิตรต่อต้านลัทธิล่าอาณานิคม ลัทธิชาตินิยม เพื่อการแสวงหาเอกราชของประชาชาติ การพิทักษ์สันติภาพของโลก และให้ประเทศในเอเชียกับแอฟริกาอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
ความหมายทางประวัติศาสตร์ของการประชุมครั้งนี้คือ เป็นสัญลักษณ์แสดงว่า ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียและแอฟริกาเป็นเอกราชใหม่ และทำให้เจตนารมณ์บันดุงกลายเป็นหลักการชี้นำในการจัดการกับความสัมพันธ์ของทั่วโลก 60 ปีมานี้ โลกาภิวัฒน์ทางเศรษฐกิจได้ปรับโครงสร้างการเมือง เศรษฐกิจและความมั่นคงของโลก แต่แนวโน้มที่โลกหลายขั้วไม่ได้ขจัดการแข่งขันด้านอุดมการณ์ให้หมดสิ้น การประชุมเอเชีย-แอฟริกาจะส่งเสริมให้ประเทศกำลังพัฒนาให้ความร่วมมือท่ามกลางสถานการณ์ใหม่ทางการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรม
60 ปีผ่านไปแล้ว เจตนารมณ์บันดุงจะล้าสมัยหรือเปล่า ไม่นะ กล่าวสำหรับอินโดนีเซียแล้ว เจตนารมณ์บันดุงมีความหมายเป็นพิเศษ ในหน้าแรกของรัฐธรรมนูญอินโดนีเซียก็เขียนไว้ว่า บนพื้นฐานแห่งเอกราช มีสันติภาพอย่างถาวรและสังคมมีความเสมอภาคมาร่วมปรับปรุงระเบียบโลก หลังอินโดนีเซียได้เอกราชแล้วได้ดำเนินหลักนโยบายต่างประเทศอย่างเสรีมีความคึกคัก ในสถานการณ์ที่มีสองค่ายในปัจจุบัน เสรี ไม่ใช่หมายความว่าต้องยืนอยู่ข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง คึกคัก หมายความว่า อินโดนีเซียยินดีกระชับมิตรภาพและความร่วมมือกับทุกประเทศ
ในอีกด้านหนึ่ง อินโดนีเซียยังเป็นประเทศ เด็กที่มีอายุแค่ 10 ขวบ อินโดนีเชียหวังจะถือโอกาสการประชุมเอเชีย-แอฟริกามาพัฒนาความสัมพันธ์ฉันมิตรที่ดีกับประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียและแอฟริกา และโดยผ่านปฏิบัติการนี้จะทำให้หลักนโยบายทางการทูตของอินโดนีเซียมีความสมบูรณ์มากขึ้น ถ้าไม่มีเจตนารมณ์บันดุงจะไม่มีอินโดนีเชียในปัจจุบัน In/LJ