คีย์เวิร์ดที่สี่ การผลิตแบบสีเขียว
"สีเขียว" เป็นคำที่ใช้มากที่สุดในแผน "เมดอินไชน่า 2025" อย่างเช่น ผลิตภัณฑ์สีเขียว โรงงานสีเขียว นิคมอุตสาหกรรมสีเขียว บริษัทสีเขียว และการประเมินผลสีเขียว เป็นต้น
ผู้เชี่ยวชาญจีนที่เกี่ยวข้องกล่าวว่า แผน "เมดอินไชน่า 2025" ได้กำหนดการผลิตแบบสีเขียวเป็นหนึ่งในทิศทางการพัฒนาที่สำคัญ เป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อรักษาการพัฒนาที่ยั่งยืนของอุตสาหกรรมการผลิต ปัจจุบัน อุตสาหกรรมการผลิตของจีนยังคงอาศัยรูปแบบการพัฒนาแบบเก่าที่มีการลงทุนสูง สิ้นเปลืองพลังงานมากและปล่อยมลพิษค่อนข้างมาก
สถิติที่เกี่ยวข้องปรากฏว่า เมื่อปี 2014 จีนใช้พลังงานถ่านหิน 4 ,260 ล้านตัน ในจำนวนนี้มีประมาณ 70% ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมการผลิตมูลค่า 10,000 เหรียญสหรัฐฯ ต้องใช้น้ำ 569 ลูกบาศก์เมตร สูงกว่าญี่ปุ่นที่ใช้เพียง 88 ลูกบาศก์เมตร เกาหลีใต้ 55 ลูกบาศก์เมตร
การพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียวเป็นวิถีเพียงหนึ่งเดียวในการแก้ไขปัญหาการพัฒนากับสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การเร่งปรับรูปแบบและยกระดับอุตสหกรรมากรผลิต ยกประสิทธิภาพการพัฒนาอุตสาหกรรม จำเป็นต้องสร้างระบบการผลิตสีเขียวที่มีเอกลักษณ์คาร์บอนต่ำ สะอาด ประสิทธิภาพสูงและหมุนเวียนได้
นายกาว หยูนหู่ อธิบดีกรมอนุรักษ์พลังงานกระทรวงอุตสาหกรรมและสารสนเทศแห่งชาติจีนกล่าวว่า จีนจะสร้างระบบการผลิตสีเขียว รวมถึงการสร้างโรงงานที่ผลิตตามหลักสีเขียว การประยุกต์ใช้พลังงานหมุนเวียน ริเริ่มการบริโภคสีเขียว เป็นต้น นอกจากนั้น จะกำหนดมาตรฐานที่เข้มงวดและสร้างกลไกประเมินผล โรงงานที่ไม่เข้าขั้นมาตรฐานการผลิตสีเขียว จะถูกขึ้นบัญชีดำ
คีย์เวิร์ดที่ห้า คุณภาพจีน
แผน "เมดอินไชน่า 2025"เน้นว่า การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดีเป็นพื้นฐานของการสร้างประเทศอุตสาหกรรมการผลิตที่เข้มแข็ง สินค้าที่มีคุณภาพดีจะสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถและกำลังผลิตโดยรวมของประเทศ ทั้งแสดงให้เห็นถึงอารยธรรมของประชาชาติและประเทศชาติ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์เทคโนโลยีใหม่ ความสามารถการบริหาร คุณภาพของแรงงาน ตลอดจนระบบการบริหารด้วยกฎหมาย ระดับการศึกษา วัฒนธรรมและความซื่อสัตย์ของผู้ผลิต เป็นต้น
คีย์เวิร์ดที่หก แบรนด์จีน
การปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ของจีนให้เป็นแบรนด์จีนนั้น เป็นเป้าหมายสำคัญอีกอย่างหนึ่งของแผน "เมดอินไชน่า 2025" ปัจจุบัน จีนเป็นประเทศใหญ่อันดับ 2 ด้านอุตสาหกรรมการผลิตของโลก แต่ยังคงเป็นประเทศใหญ่ที่บริโภคแบรนด์ของประเทศอื่น ไม่ใช่ประเทศใหญ่ที่บริโภคแบรนด์ของตน โดยสินค้าส่งออกกว่า 90% ของจีนติด
แบรนด์เนมของต่างประเทศ
ความแตกต่างของสินค้าติดแบรนด์ต่างประเทศกับสินค้าติดแบรนด์จีนแสดงให้เห็นจากกำไร อย่างเช่นตุ๊กตาบาร์บี้ ขายในตลาดสหรัฐฯ ราคา 10 เหรียญสหรัฐฯ แต่ราคาส่งออกจากจีนเพียง 2 เหรียญสหรัฐฯ เท่านั้น ถ้าหักต้นทุน เหลือกำไรเพียง 0.35 เหรียญสหรัฐฯ
การขาดแคลนแบรนด์ของจีนเอง ทำให้โรงงานจำนวนมากอยู่ในระดับต่ำของห่วงโซ่อุตสาหกรรมการผลิตทั่วโลก ใช้แรงงานมากแต่ได้กำไรน้อย ดังนั้น "เมดอินไชน่า " ต้องมีแบรนด์จีน ปีหลังๆ นี้ พร้อมๆ กับนักธุรกิจจีนเร่งฝีก้าวสู่สากลให้เร็วยิ่งขึ้น สินค้าแบรนด์จีนได้ก้าวสู่ทั่วโลกจำนวนมากขึ้น ในการประกาศรายชื่อ 500 แบรนด์ดังของโลกล่าสุดปรากฏว่า แบรนด์จีน 29 แบรนด์ติดอันดับ
(In/Lin)