หลังวิกฤตการเงินโลกปี 2008 เศรษฐกิจเวียดนามที่ธนาคารโลก และองค์กรเศรษฐกิจโลกต่างๆ มีความคาดหวังอย่างสูงนั้นเริ่มซบเซาลง ปัญหาเงินเฟ้อ วิกฤตวิสาหกิจรัฐ และงบประมาณขาดดุลล้วนเป็นปัญหาที่กวนใจรัฐบาล และประชาชนเวียดนาม เมื่อเร็วๆ นี้ สถานการณ์ทางการเงินของเวียดนามจะมีแนวโน้มใหม่ โดยเฉพาะตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 2014 เป็นต้นมา เศรษฐกิจเวียดนามมีสัญญาณเชิงบวกหลายประการ วงการเศรษฐกิจ และสื่อมวลชนเวียดนามเห็นว่า เศรษฐกิจเวียดนามเริ่มฟื้นตัว ทว่า ขณะเดียวกันกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภาครวม เป็นที่กังวลใจว่า วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของเวียดนามซึ่งเป็น 94% ของวิสาหกิจทั้งหมดประสบความยากลำบาก สามารถแก้ปัญหานี้ได้หรือไม่นั้น จะมีอิทธิพลต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจเวียดนาม
เมื่อเร็วๆ นี้ ในที่ประชุมฟอรั่มเวียดนามที่จัดขึ้นที่กรุงฮานอย นายวู เตียน ล็อก นายกสมาคมการค้า และอุตสาหกรรมเวียดนามกล่าวว่า วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมเวียดนามไม่เพียงแต่ไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจเวียดนาม หากเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาของเศรษฐกิจเวียดนามโดยรวม ทั้งนี้เป็นเพราะว่าวิสาหกิจ SMEs มีขนาดเล็ก ไม่เป็นทางการ มีความสามารถในการบริหารต่ำ ไม่ใช้เทคโนโลยีสูง จึงยากที่จะดึงดูดทุนต่างชาติ และยากที่จะเผชิญกับการท้าทายของตลาด ความคิดเห็นของ นายวู เตียน ล็อก เป็นการปฏิเสธการพัฒนาของเศรษฐกิจภาคเอกชน แต่นี่เป็นสภาพที่เป็นจริงที่เศรษฐกิจภาคเอกชนต้องเผชิญหน้าในปัจจุบัน
ทว่า ถ้ามองจากกฎการพัฒนาเศรษฐกิจแล้ว วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมน่าจะเป็นยาดีในการฟื้นฟูเศรษฐกิจเวียดนาม แม้ว่าวิสาหกิจขนาดใหญ่ควบคุมการพัฒนาของเศรษฐกิจประเทศได้ แต่การพัฒนาของวิสาหกิจ SMEs สามารถทำให้เศรษฐกิจเวียดนามมีความคึกคัก ซึ่งเลขาธิการสมาคมการค้า และอุตสาหกรรมเวียดนามเห็นว่า รัฐบาลเวียดนามควรใช้นโยบายสนับสนุนวิสาหกิจภาคเอกชนต่างๆ เพี่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจ SMEs ของเวียดนามพัฒนาพร้อมกับเศรษฐกิจเวียดนามโดยรวม
(Yim/cici)