บทสัมภาษณ์ ฯพณฯ โภคิน พลกุล นายกสมาคมวัฒนธรรมเศรษฐกิจไทย-จีน(ตอนที่ 1)
  2015-07-02 18:36:58  cri

ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอ:สวัสดีค่ะ รองศาสตรจารย์ ดร.โภคิน พลกุล นายกสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน

รศ.ดร.โภคิน พลกุล:สวัสดีครับ

ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอ:ก่อนอื่นขอความกรุณาท่านกล่าวถึงบทบาทของสมาคมในการสานสัมพันธ์ไทย-จีน โดยเฉพาะในโอกาสครบรอบ 40 ปีการสถานปนาทางการทูต สมาคมมีเป้าหมายในการจัดกิจกรรมอย่างไรบ้าง ตลอดจนในอนาคต สมาคมมีนโยบายที่จะมุ่งสานสัมพันธ์ด้านอื่นๆ ที่นอกเหนือจากวัฒนธรรมและเศรษฐกิจอย่างไรบ้างคะ?

รศ.ดร.โภคิน พลกุล:ก็อยากเรียนท่านผู้ฟังว่า สมาคมวัฒนธรรมเศรษฐกิจไทย-จีนก่อตั้งมาถึงปีนี้เป็นปีที่ 21 แล้ว มีนายกสมาคมหลายท่าน ท่านแรกคือ ท่านพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ท่านที่ 2 ก็ท่านดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ท่านที่ 3 ก็เป็นท่านพลเอกวิชิต ยาทิพย์ ท่านที่ 4 ท่านพินิจ จารุสมบัติ แล้วก็มาปัจจุบันเป็นผมที่มาเป็นนายกสมาคม สมาคมนี้ก็ได้สานสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องแล้วก็มี พูดง่ายๆ ว่า สมาคมที่เป็น Counter part และมีมูลนิธิต่างๆ ของจีนที่เข้ามาร่วมหลายสมาคม แล้วก็มีมูลนิธิที่สำคัญก็คือ มูลนิธิเพื่อสันติภาพและการพัฒนาแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งก็อยู่ในสังกัดของพรรคคอมมิวนิสต์จีนนะครับ ก็เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทั้งหลายว่า จะ 40 ปีไทย-จีนหรือไม่เนี่ย ทำอย่างไรจะให้มีสันติภาพ ให้มีความสัมพันธ์ที่ดี มีการร่วมมือกันการพัฒนาไปในทางที่เป็นประโยชน์และก็ยั่งยืนของทั้งสองประเทศร่วมกัน

ในแง่ของกิจกรรมนั้น สมาคมก็มีอยู่มากมายหลายกิจการนะครับ ซึ่งผมคงไม่สามารถกล่าวทั้งหมด แต่อยากเรียนเรื่องหลักๆ ที่เรากำลังทำอยู่ขณะนี้ แล้วที่ได้ทำผ่านมา ในอดีตนั้น ทางสมาคมก็ได้พยายามผลักดัน อยากเห็นภาษาจีนเนี่ยเป็นภาษาที่ 2 ในอาเซียนนอกจากภาษาอังกฤษแล้ว เพราะว่า คนจีนในประเทศจีนก็มีกว่าตั้งพันกว่าล้าน แล้วก็มีธุรกิจคนจีนอยู่หลายหนแห่งทั่วไป ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างประชาชนต่อประชาชน หรือที่ผู้ที่ทำการค้าด้วยกันนะครับ อย่างที่ 2 ก็คือทำอย่างไรจะให้มีการใช้เงินสกุลหยวนเนี่ยให้เป็นเงินสกุลหนึ่งในการแลกเปลี่ยน เพราะว่าที่ผ่านมานั้น เราต้องผ่านเงินดอลลาร์หมด มันก็เกิดการสองต่อคือ สมมุติไทยค้าขายกับจีน แทนจะแลกเป็นบาทกับหยวนเลย ก็กลายเป็นต้องไปผ่านดอลลาร์ก่อน อย่างนี้เป็นต้นนะครับ หรือแม้แต่เงินในตะกล้าของธนาคารชาติเราเอง ถ้าเผื่อมีเงินหยวนอยู่ด้วยเนี่ย เวลาเกิดวิกฤติการเงินต่างๆ หรือเกิดการโจมตีค่าเงิน ก็จะมีเสถียรภาพมากขึ้น ถ้าเผื่อมีหลายๆ ตระกุล อย่างเช่นจะมีดอลลาร์ มียูโร หรือว่ามีเงินปอนต์ เงินเยนก็อาจจะมีบ้างเล็กน้อย มีเงินหยวนด้วยเนี่ย ยิ่งมีมากตระกูล ก็จะมีความมั่นคงมากขึ้น

สิ่งที่เราพยายามทำในปัจจุบันนะครับ นอกจากเมื่อเร็วๆ นี้กับทางกระทรวงการต่างประเทศของจีนเนี่ย แล้วก็เมื่อสักครู่ที่ก่อนมาสถานีวิทยุซีอาร์ไอ ก็ได้พบกับสถาปันการต่างประเทศของจีนนะครับ ก็มีการให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างนักธุรกิจรุ่นหนุ่มสาวไทย-จีน ก็อายุประมาณ 45 ปีลงมา บางคนอาจจะเกินไปบ้างนิดหน่อย เราจัดไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา คือมีฝ่ายจีนมา 50 คนฝ่ายไทยมา 50 คน ก็มากินอยู่ด้วยกัน มีกิจกรรมร่วมกัน ทั้งในเรื่องของการประชุมสัมมนา ตลอดจนไปดูในสถานที่ทางด้านวัฒนธรรมต่างๆ ก็เกิดความสนิทสนมกันอย่างมาก แล้วในช่วงปลายปีนี้ก็จะไปจัดที่จีนบ้าง ดังนั้นในหนึ่งรุ่น 100 คนโดยประมาณเนี่ย ก็จะเกิดที่ไทยครั้งหนึ่งที่จีนครั้งหนึ่ง เมื่อวันก็ได้พบกับสมาคมมิตรภาพวิเทศสัมพันธ์แห่งประเทศจีนซึ่งอยู่ในกระทรวงการต่างประเทศของจีนเนี่ย ก็ได้คุยกับท่านมาดามหลี่ เสี่ยวหลิน ซึ่งเป็นนายกสมาคมนะครับว่า โครงการนี้เราจะทำกันต่อไป นี่เป็นรุ่นที่ 1 ต่อไปก็จะมีรุ่นที่ 2 รุ่นที่ 3 ไปมาหาสู่กันอย่างนี้ครับ

ในเรื่องต่อไปซึ่งเรากำลังผลักดันอย่างเต็มที่เวลานี้ก็คือ เราชอบพูดเสมอว่า จีน-ไทยใช่อื่นไกล พี่น้องกัน แต่แล้วยังไง ดูเป็นคำพูดที่ดูสวยดูดีหมด แต่ความเป็นพี่น้องมันแสดงออกผ่านอะไร เราก็บอกว่าควรจะยกเลิกวีซ่าระหว่างกันได้แล้วนะครับ ผมก็ได้เสนอเรื่องนี้ตั้งแต่สองปีที่แล้ว แล้วก็มีการพูดคุยระหว่างรัฐบาลขณะนั้น ก็คือรัฐบาลของนายกฯ ยิ่งลักษณ์กับรัฐบาลของท่านหลี เค่อเฉียง แต่พอมีการเปลี่ยนแปลงก็รู้สึกเรื่องนี้ก็จะยังค้างอยู่ ที่เสนอเช่นนี้มันมีสองนัยสำคัญ นัยแรกก็คือว่า ถ้าเราอยากเห็นการไปมาหาสู่กัน พอเกิดการไปมาหาสู่ก็จะเกิดความเข้าใจกันมากขึ้น รู้จักกัน เชื่อถือและไว้ใจกันมากขึ้น ก็นำไปสู่การค้าและการลงทุน นี่ถ้าไปมาหาสู่ลำบาก ติดระบบวีซ่าเนี่ย ในกรณีที่คนจีนอยากมาเมืองไทย ก็มีสถานกงสุลประมาณ 6 แห่ง การทำวีซาในประเทศอันกว่างใหญ่ก็ไม่ง่าย หรือของคนไทยจะไปทำวีซ่าไปจีน บางที่ก็ต้องไปรอคิวนานพอสมควร ไทยกับอาเซียนทั้งหมดมีประชากรตั้ง 650 ล้านยังยกเลิกวีซ่าไปหมดแล้ว 10 ประเทศมีความแตกต่างหลากหลายไปหมด ดังนั้นถ้ายกเลิกกัน แน่นอนเลยไปมาหาสู่จะทำได้สะดวกขึ้น

ประกันที่ 2 เป็นสัญลักษณ์ของความไว้ใจต่อกัน คนไม่ไว้ใจกันก็ต้องมีวีซ่า ถ้าไม่ผ่านวีซ่าก็ไม่ให้เข้าประเทศ ใช่ไหมครับ นี่ถ้าเรากล้าไว้ใจกันเนี่ย ทุกอย่างมันจะง่าย ถามว่าข้อบกพร่องมีไหม ปัญหามีไหม คำตอบคือมี ถามว่าคนไม่ดีจะอาศัยช่องทางนี้ไหม คำตอบคือเป็นไปได้ แต่เราต้องนึกถึงคนส่วนใหญ่ที่เขาต้องการจะไปมาหาสู่ ทำมาหากินโดยสุจริต ซึ่งเป็นคนมากกว่า 99% ด้วยซ้ำไป แต่ถ้าเราไปวางกฎเกณฑ์ที่กลัวคนไม่ดีเพียงนิดเดียวเองเนี่ย คนดีก็เลยไม่ต้องทำอะไรเลย ซึ่งคนส่วนมากจะชอบวางกฎเกณฑ์แบบนี้ มันก็ทำให้ทุกอย่างลำบากหมด ก็เลยมีแต่คำพูดหรูๆ มีตั้งองค์กรเยอะแยะ ไหนจะอาเซียน อาเซียน+3 อาเซียน+6 ไหนจะเอเปค ไหนจะกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขง ไหนจะกลุ่มแม่น้ำอิระวดี เจ้าพระยา แม่โขง คือเยอะแยะไปหมด แต่ทั้งหมดเนี่ย ไม่ได้ส่งเสริมการไปมาหาสู่กันอย่างจริงจังเลย เราก็นึกว่า สิ่งนี้ต้องช่วยกันผลักดัน

ผมมาจีนหลายครั้ง ได้พบผู้ใหญ่จีนได้พบทุกภาคส่วนของจีน ก็จะพูดประเด็นนี้ ฝ่ายจีนบางท่านก็บอกว่า คนจีนมีตั้งเยอะ สมมุติว่าคนจีนที่มีสตางค์ไปเที่ยวเมืองไทยเนี่ย มีสักร้อยล้านคน ถ้าไปสัก 30 ล้านคน ประเทศไทยจะรับไหวหรือ? ผมก็บอกท่านว่า มันเป็นไปตามกลไกตลาด สมมุติประเทศไทยรับได้ 10 ล้าน สมมุตินะครับ ก็ถ้าจะมา 50 ล้าน อีก 40 ล้านก็ต้องคอยไปก่อน เพราะตัวเครื่องบินไม่มี โรงแรมไม่มี ใช่ไหมครับ แต่ถ้ามีปริมาณเยอะจริงๆ ภาคเอกชนเขาก็สร้างโรงแรมตาม ก็จะมี Charter Flight ตามมา เวลานี้ประเทศไทยไม่ต้องใช้วีซ่ากับประเทศประมาณ 49 ประเทศ ถามว่าประชากร 49 ประเทศรวมทั้งอาเซียนก็เป็นพันล้าน ทำไมไม่เห็นมีใครมาทะลักเมืองไทยที 30 – 40 ล้านคน ก็ไม่ได้เป็นอย่างนั้น ทุกอย่างมันเป็นไปตามกลไกตลาด ดังนั้น ประเด็นนี้อย่าไปห่วง ส่วนเรื่องความมั่นคงปลอดภัยต่างๆ นั้นเนี่ย คนไม่ดีเขาไม่ได้สนใจเรืองย Passport เรื่องวีซ่า เขามีวิธีของเขาอยู่แล้ว เราอย่าไปกังวลนะครับ อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ 1

เรื่องที่ 2 ก็คือ เห็นว่าจีนมีนโยบายในเรื่องของที่เรียกว่าเป็น One Belt One Road(หนื่งแถบหนึ่งเส้นทาง) นะครับ ซึ่งสรุปก็คือเส้นทางสายไหมทั้งทางบกและทางทะเล แต่บางทีเรียกแล้วคนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจว่าหมายถึงอะไร สรุปก็คือจีนต้องการสร้างการเชื่อมต่อ ไม่ว่าจะเศรษฐกิจ การค้า วัฒนธรรมทุกอย่างในยุค Globalization(โลกาภิวัฒน์)กับชาติต่างๆ ซึ่งการเชื่อมต่อเนี่ย ท่านประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีนพูดตลอดเวลาว่า เป็นการเชื่อมต่อหรือเรียกว่า Connectivity นะครับที่ตั้งบนพื้นฐานของการปรึกษาหารือของการทำมาค้าขายร่วมกัน บนพื้นฐานที่ทุกฝ่าย Win-win ไม่เอาเปรียบกันนะครับ ซึ่งผมคิดว่าเป็นข้อเสนอที่ดีอย่างยิ่ง งั้นสมาคมก็เลยมองย้อนไปในในอดีตว่า แนวคิดเช่นนี้เกิดขึ้นเมื่อ 600 ปีที่แล้วในราชวงศ์หมิง ก็มีกองเรือของนายพลเรือเจิ้ง เหอ(ซัมเปากง)เป็นขนาดมหึมา มีเรือหลายร้อยลำ เอาเสินค้า เอาความรู้ทางด้านการแพทย์การเกษตรในเวลานั้น ลงเรือมาตั้งแต่แถวๆ เซี่ยเหมิน ล่องเรือลงมาเนี่ยนะครับ มาผ่านทางเวียดนาม ลงมาเข้ามาทางกัมพูชา เข้ามาทางอ่าวไทย เลาะไปทางใต้จนถึงช่องแคบมะละกา แล้วต่อไปทางพม่า บังคลาเทศ อินเดีย จนถึงแอฟริกา แหล่ง Good Hope ซึ่งครั้งนั้นก็มีบันทึกมีจารึก และมีมากที่สุดก็คือในประเทศไทย โดยมีจดหมายเหตุต่างๆ รวมทั้งมีศาลที่คนนับถือท่านเจิ้ง เหอ เรียกว่า ศาลซัมเปากงเป็นร้อยแห่ง ซึ่งเหล่านี้พอย้อนไปในประวัติศาสตร์เป็นการมาของจีนซึ่งมีกองเรือขนาดมหึมา มีทหารมาหลายหมื่นคน แต่มาเพื่อเจริญไมตรีมาเพื่อเป็นมิตรกับทุกประเทศ ไม่ได้มาเพื่อการรุกราน ซึ่งผิดกับเมื่อร้อยกว่าปีที่ผ่านมา ก็คือยุคอาณานิคม ซึ่งโลกตะวันตกมานั้น มาพร้อมกับการเอารัดเอาเปรียบ มายึดดินแดน มาขูดรีดทรัพยากรต่างๆ ของภูมิภาค ของทั้งโลกที่เขาไปได้ เขาก็เช่นนี้

งั้นถ้าเผื่อยุคสมัยใหม่เรานำยุคของท่านเจิ้ง เหอกลับมาอีกสักครั้งหนึ่ง มาพร้อมกับไมตรี มาพร้อมกับไม่เอาเปรียบ ได้ Win-win ด้วยกัน ผมก็เชื่อว่าจะทำให้โลกมีสันติภาพมากขึ้น แต่ปัญหาขนาดนี้ก็คือคนยังไม่เข้าใจมันคืออะไร ซึ่งเดียวอาจจะคุยกันต่อไปนะครับ ซึ่งสมาคมก็เลยคิดว่าเราจะทำการศึกษาเรื่องนี้โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ตอนนี้ก็ได้ประสานแล้วบางแห่ง แล้วก็มหาวิทยาลัยในประเทศจีน ซึ่งก็ได้ประสานแล้วหลายแห่ง รวมทั้งมูลนิธิเพื่อสันติภาพและการพัฒนาจะเป็นแกนกลางมาศึกษามาตามรอยท่านเจิ้ง เหอด้วยกันว่าในอดีต เขาทำอะไรที่ดีงามไว้ แล้วปัจจุบันเราทำในสิ่งนั้นหรือทำให้ดียิ่งขึ้นได้อย่างไร นี่ก็เป็นเรื่องที่ 2 ที่เราผลักดันในขนะนี้

ส่วนเรื่องสุดท้ายก็คือ ท่านประธานาธิบดีอินโดนีเซียก็บอกว่า เรื่อง Marinetime Silk Road เนี่ย มั่นน่าจะต้องมีทางด่วน คือปัจจุบันเนี้ย ถ้าจากเกาหลี ญี่ปุ่น จีน ฟิลิปปินส์ทั้งหลายลงมาเนี่ย ต้องผ่านช่องแคบมะละกาหมด เพื่อจะไปข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกไปสู่มหาสมุทรอินเดีย ลองดูซิว่า ประเทศไทยเคยพูดถึงคลองกระมานานแล้วหลายสิบปี มันเกิดปัญหาอุปสรรคอะไร่ทำไมที่ทำอันนี้ไม่ได้ หรือสมัยท่านนายกฯ ทักษิณก็พูดถึง Landbridge ทำไมตรงนี้ยังเกิดขึ้นไม่ได้ มันมีปัญหาอะไรบ้าง เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องความมั่นคง เรื่องต่างๆ เราเอามาดูอีกทีในศตวรรษนี้ซิว่า มันมีความเป็นไปได้ไหม และคงไม่ได้ทำเฉพาะคลองกระ จะสร้างเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษระหว่างจีนกับอาเซียน หรือจะเป็นจีน ญี่ปุ่น เกาหลี อาเซียนร่วมกันทำทั้งหมดเนี่ย ให้เป็นของทุกชาติด้วยกัน เส้นทางตรงนี้มีเรือขนส่งสินค้าเนี่ยประมาณเกือบ 80% ของโลก เพราะอะไร เพราะจีน ญี่ปุ่น เกาหลีเนี่ยก็เป็นแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญ ก็จะต้องข้ามมาทางอินเดียไปทางอาหรับไปทางแอฟริกานะครับ สิ่งเหล่าเนี้ยเราก็อยากจะผลักดันให้มีการศึกษาความเป็นไปได้อีกทีหนึ่ง แล้วถ้ามีความเป็นไปได้อย่างไรเนี่ย ก็อาจจะได้มาดูกันว่า จะร่วมมือกันทำให้เป็นจริงอย่างไรต่อไป

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040