หนังสือพิมพ์เหรินหมินรึเป้ารายงานว่า ช่วงที่ผ่านมา ศักยภาพการผลิตกลายเป็นศัพท์ที่วงการทูตเอ่ยถึงบ่อย ทั้งนี้เกี่ยวข้องกับภูมิหลังทั้งสองด้านนี้
หนึ่ง ขณะนี้ เศรษฐกิจโลกกำลังอยู่ในช่วงปรับอย่างลึกหลังวิกฤติการเงินระหว่างประเทศ ทำให้มีปัจจัยที่ไม่แน่นอนเพิ่มมากขึ้น ในจำนวนนี้ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนามีความเสี่ยงและการท้าทายเพิ่มมากขึ้น และอัตราความเร็วในการเติบโตของเศรษฐกิจชะลอตัว เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว กองทุนการเงินระหว่างประเทศประกาศคาดการณ์เศรษฐกิจโลกฉบับล่าสุด โดยได้ปรับคาดการณ์อัตราเติบโตของเศรษฐกิจโลกประจำปี 2015 ลดลงถึงร้อยละ 0.5 จนเหลือร้อยละ 3.3 เท่านั้น นับเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่เกิดวิกฤติการเงินระหว่างประเทศเป็นต้นมา ซึ่งสาเหตุสำคัญก็คือ ในขณะที่ประเทศพัฒนายังยากที่จะพ้นจากผลกระทบที่เหลือจากวิกฤติการเงิน ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ อัตราเติบก็ชะลอตัว เพื่อรับมือกับสภาพใหม่นี้ ที่สำคัญที่สุดต้องใช้มาตรการที่จำเป็นทุกอย่างสนับสนุนการพัฒนาภาคการผลิต ดังนั้น การดำเนินความร่วมมือด้านศักยภาพการผลิตระหว่างประเทศจึงเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ
อีกด้านหนึ่ง ขณะนี้ เศรษฐกิจโลกเป็นแบบสองขั้ว หนึ่งคือ มีประเทศจำนวนไม่น้อยยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาอุตสาหกรรม ต้องการการเติบโตและลดผู้ยากจน ต้องการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน จึงต้องการเครื่องจักรอุปกรณ์จำนวนมาก แต่ประเทศเหล่านี้มีเงินทุนไม่เพียงพอ จึงไม่สามารถเป็นผู้บริโภคเครื่องจักรอุปกรณ์ระดับสูงได้ สองคือ ประเทศพัฒนากำลังอยู่ในช่วงหลังของการพัฒนาอุตสาหกรรม หรือหลังยุคอุตสาหกรรม (post industrialization) ต้องการใช้เครื่องจักรอุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีระดับสูง
จีนในฐานะเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่ใหญ่ที่สุดของโลกที่ตั้งอยู่ระหว่างสองขั้วนี้ ช่วงปีหลังๆ นี้ ได้พัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตในหลายระดับที่ครอบคลุมทุกด้าน จึงมีเงื่อนไขพร้อมที่จะผลักดันความร่วมมือด้านศักยภาพการผลิต ทั้งนี้ไม่เพียงแต่จะตอบสนองความต้องการของประเทศกำลังพัฒนาเท่านั้น หากยังสามารถเพิ่มตลาดการส่งออกให้กับเทคโนโลยีสำคัญและสิ่งประดิษฐ์คิดค้นของประเทศที่พัฒนาแล้วด้วย