หนังสือพิมพ์เหรินหมินรึเป้ารายงานว่า ครึ่งแรกปีนี้ อัตราเติบโตของเศรษฐกิจจีนร้อยละ 7 ซึ่งสื่อมวลชนทั่วโลกมีทั้งชมเปาะด้วยความตื่นตะลึงมีทั้งวิพากษ์วิจารณ์ หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทม์ (The Financial Times)ของอังกฤษซึ่งเป็นสื่อมวลชนด้านเศรษฐกิจและการคลังที่มีอิทธิพลรายงานว่า ไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ อัตราเติบโตของเศรษฐกิจจีนรักษาความมั่นคง ดัชนีการผลิตที่สำคัญดีดตัวกลับ แสดงให้เห็นว่านโยบายหลายประการที่ใช้ปฏิบัติเมื่อปลายปีที่แล้วนั้นได้ผ่อนคลายการลดลงทางโครงสร้างที่เป็นระยะยาว ส่วนคำวิพากษ์วิจารณ์ก็เพราะอัตราเติบโตร้อยละ 7 นั้นมากกว่าการคาดคะเนนของสถาบันระหว่างประเทศและผู้เชี่ยวชายที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก ตลอดจนข้อสงสัยตามความเคยชินต่อความเป็นจริงของตัวเลขจีน การชมเปาะด้วยความตื่นตะลึงกับวิพากษ์วิจารณ์ปน จากแง่มุมหนึ่งแสดงให้เห็นว่า ในบรรยากาศที่สลับซับซ้อนและลู่ทางที่มีข้อขัดแย้งปะปนกันอยู่นั้น เศรษฐกิจจีนที่พัฒนาด้วยอัตราเติบโตร้อยละ 7 นั้น เป็นเรื่องที่ได้มาไม่ง่าย
เมื่อพิจารณาจากเศรษฐกิจทั่วโลก ร้อยละ 7 นั้นได้มาไม่ง่ายจริงๆ ครึ่งแรกปีนี้ ลู่ทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงมีความไม่แน่นอนและมีความยากลำบากมากมาย ถ้ายืดเวลาสังเกตุการณ์ให้ยาวขึ้น นายเหยา จือจ้อง รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยการเมืองและเศรษฐกิจโลกสภาวิทยาศาสตร์และสังคมจีนเห็นว่า อัตราเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันตกอยู่ในระดับต่ำที่สุดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา และยังลดลงอีกด้วย ในทุกวันนี้ที่ความเป็นโลกาภิวัฒน์นับวันสูงขึ้นนั้น การพัฒนาของเศรษฐกิจจีนจะไม่สนใจแต่เรื่องส่วนตัวอย่างเดียวแล้ว นายเฉิน ตงฉี รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเศรษฐกิจมหาภาคคณะกรรมการพัฒนาและการปฏิรูปแห่งชาติจีนกล่าวว่า อัตราเติบโตของเศรษฐกิจที่เป็นร้อยละ 7 นั้นแม้ว่าน้อยกว่าอัตราเติบโตของอินเดียที่ตกอยู่ในขั้นการพัฒนาที่มีขนาดเล็กกว่าและมีจำนวนต่ำกว่า แต่ก็ยังสูงกว่าอัตราเติบโตเฉลี่ยของโลกและอัตราเติบโตของกลุ่มเศรษฐกิจหลักอื่นๆ
นอกจากนี้ อัตราเติบโตร้อยละ 7 นั้นได้มาไม่ง่ายเนื่องจากอยู่ใน " 3 ช่วงซ้ำกัน" ก็คืออยู่ในช่วงเปลี่ยนเกียร์ของอัตราเติบโต ช่วงปรับปรุงโครงสร้าง และช่วง "ย่อย" นโยบายกระตุ้นในระยะก่อนหน้านี้ เมื่อทบทวนการปรับการควบคุมจากการปฏิรูป ร้อยละ 7 นี้ได้มาไม่ง่ายจริงๆ นายไช่ ฝ่าง รองประธานสภาวิทยาศาสตร์และสังคมจีนเห็นว่า อัตราเติบโตดังกล่าวนี้ภายใต้การท้าทายใน" 3 ช่วงซ้ำกัน" ได้บรรลุความสมเหตุสมผลของโครงสร้างอุตสาหกรรมกับโครงสร้างความต้องการ และได้เพิ่มปัจจัยที่ยั่งยืนในการเติบโตของเศรษฐกิจด้วย ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่า อัตราเติบโตดังกล่าวนี้ไม่ได้มาจากการกระตุ้นจากนโยบายเศรษฐกิจมหาภาคอย่างง่ายๆ หากเป็นการประสบผลในขั้นต้นของการเปลี่ยนรูปแบบการปฏิรูปและการพัฒนา
(In/zheng)