สื่อ "เหลียนเหอเจ่าเป้า" ของสิงคโปร์ตีพิม์บทความระบุว่า การปรับราคากลางของค่าเงินหยวนในครั้งนี้เป็นการทดลองอย่างหนึ่งในภาพรวมของการปฏิรูปตามกลไกตลาดมากกว่า ไม่ใช่เพื่อส่งเสริมการส่งออก
นายนิโคลัส อาร์ ลาร์ดี นักวิจัยอาวุโส สถาบันปีเตอร์วันเพื่อวิจัยเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นคลังปัญญาวอชิงตันระบุว่า "การที่ธนาคารกลางจีนออกมาตรการดังกล่าวไม่ได้หมายความว่า รัฐบาลจีนจะใช้วิธีการควบคุมค่าเงินไปส่งเสริมการส่งออกและการเติบโตของเศรษฐกิจ แต่เพื่อให้ตลาดมีบทบาทในกลไกกำหนดค่าเงินมากขึ้น มีเหตุผลที่จะติดตามว่า ค่าเงินหยวนจะลอยตัวในสองทิศทางด้วยอัตราที่มากกว่านี้"
สื่อ "โยมิอุริ ชินบุน" ของญี่ปุ่นรายงานว่า วัตถุประสงค์สำคัญประการหนึ่งของธนาคารกลางจีนในการปรับราคากลางของค่าเงินหยวนให้สมบูรณ์ขึ้นก็คือ เดินหน้าค่าเงินหยวนให้เป็นไปตามกลไกตลาด และเร่งให้สกุลเงินหยวนเป็นสกุลเงินสากลเร็วขึ้น
นายทัง จือหมิ่น ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยจีน-อาเซียน สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ของไทยระบุว่า การปรับค่าเงินหยวนให้สมบูรณ์ขึ้นในครั้งนี้ จะมีส่วนช่วยให้ค่าเงินหยวนเป็นไปตามกลไกตลาดมากขึ้น มีความสำคัญต่อเงินหยวนในการเป็นสกุลเงินสากลและเป็นสกุลเงินในสิทธิพิเศษถอนเงิน หรือ เอสดีอาร์ (SDR) ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศมากขึ้น
นางจัง เสี่ยวฮุ่ย ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารกลางจีนระบุเมื่อวันที่ 13 สิงหาคมนี้ว่า ค่าเงินหยวนในขณะนี้ได้กลับคืนสู่ระดับตลาดแล้ว ในระยะยาวสกุลเงินหยวนยังคงจะเป็นเงินที่มาแรง และไม่มีรากฐานใดๆ ที่จะทำให้อ่อนค่าลงในอัตรามากๆ
(IN/LING)