ในช่วง 60 ปีแห่งการปฏิบัติงานตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมระยะ 5 ปีตั้งแต่ฉบับที่ 1 จนถึงฉบับที่ 12 ระบอบเศรษฐกิจจีนเปลี่ยนแปลงจากระบอบเศรษฐกิจวางแผนแบบรัฐบาลมีอำนาจสูงต่อเศรษฐกิจ มาเป็นระบอบเศรษฐกิตการตลาดแบบสังคมนิยมที่พลังชีวิตอันคึกคัก ก้าวหน้าจากสังคมกึ่งปิดตัวกึ่งเปิดตัว มาเป็นแบบเปิดตัวสู่ภายนอกอย่างเต็มที่ ซึ่งมีความหมายสำคัญอันยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์
วาระการปฏิบัติของแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมระยะ 5 ปีฉบับที่ 13 คือตั้งแต่ปี 2016 จนถึงปี 2020 นับเป็นแผนพัฒนาระยะ 5 ปีฉบับแรกที่คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนสมัยที่ 18 นี้ เป็นช่วงเวลาที่ก้าวคืบหน้าอย่างยากลำบากให้พ้นตัวจาก "หลุมพรามแห่งรายได้ระดับปานกลาง" ไปยังระดับการพัฒนาที่สูงขึ้น และพุ่งสุดตัวเพื่อบรรลุการสร้างสังคมมีกินมีใช้ให้สำเร็จในทุกด้าน อันเป็นเป้าหมายร้อยปีในการจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน
เมื่อทบทวนช่วง 5 ปีที่ปฏิบัติแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะ 5 ปีฉบับที่ 12 นับได้ว่าเศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะ "ไม่เข้มแข็ง" จีนได้ฝ่าฝันอุปสรรคต่างๆ จนรักษาอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจเฉลี่ยต่อปีให้อยู่ในระดับประมาณ 8% ต่อเนื่องกันได้ สร้างเครือข่ายประกันสังคมขนาดใหญ่ที่สุดของโลกที่ครอบคลุมประชากร 1,300 ล้านคนให้สำเร็จ พร้อมเพิ่มเงินสวัสดิการขั้นต่ำสุดอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2010 จนถึงปี 2014 ยอดการบริโภคพลังงานต่อมูลค่าการผลิตหนึ่งหน่วยมาตรฐานของจีนลดลง 13.4% เศรษฐกิจจีนพัฒนาอย่างรวดเร็วในลักษณะ "สีเขียว"
พิมพ์เขียวของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะ 5 ปีฉบับที่ 13 จะปรากฏให้เห็นว่า "แผนเมออินไชน่า 2025(Made in China 2025) " จะผลักดันการปรับโครงสร้างและยกระดับอุตสาหกรรมการผลิต ก้าวหน้าเป็น "ประเทศที่เข้มแข็งในการผลิต" "อินเตอร์เน็ต Plus" จะขับเคลื่อนสารสนเทศกับอุตสาหกรรมให้ผสมผสานกันอย่างลึกซึ้ง บังเกิดเทคโนโลยีใหม่ แนวคิดใหม่และอาชีพใหม่อย่างต่อเนื่อง กระบวนการพัฒนาเป็นเมืองจะกระตุ้นทรัพยากรแรงงานให้อุดมสมบูรณ์ และเปิดตลาดที่กว้างใหญ่ไพศาลยิ่งขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการเก็บเกี่ยวจากที่ดินเพาะปลูก เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ประเทศจีนจะเดินหนทางการทันสมัยทางเกษตรที่มีเอกลักษณ์ของจีนเอง
IN/FENG