เมื่อเดือนพฤษภาคมปีนี้ สื่อมวลชนสหรัฐฯ ก็เปิดเผยว่า กองทัพสหรัฐฯ จะท้าทายจีนในโครงการก่อสร้างที่บริเวณทะเลจีนใต้ นายแอชตัน คาร์เตอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ยิ่งระบุอย่างชัดเจนว่า จะสั่งให้เครื่องบินข้ามหมู่เกาะของจีนและสั่งให้เรือล้ำเข้าน่านน้ำที่อยู่ใกล้ เมื่อเดือนกันยายน กองทัพสหรัฐฯ แทรกแซงปัญหาทะเลจีนใต้มาหลายครั้ง และประกาศว่า จะสั่งให้เรือรบล้ำเข้าในบริเวณที่ห่างจากหมู่เกาะหนานซาเพียง 12 ไมล์ทะเล
สหรัฐฯ ไม่ใช่ฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทะเลจีนใต้ แต่เข้าแทรกแซงมาหลายครั้งแล้ว ครั้งนี้ที่ล้ำเข้าทะเลจีนใต้ แสดงให้เห็นความมุ่งหมายของสหรัฐฯ อย่างเปิดเผยและชัดเจนแล้ว โดยมีสาเหตุเชิงยุทธศาสตร์ดังต่อไปนี้
หนึ่ง สหรัฐฯ ไม่พอใจที่จีนมีอธิปไตยและรักษาการที่ทะเลจีนใต้ และเป็นห่วงว่าจะถูกควบคุมในการดำเนินการที่บริเวณนี้
สอง สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ "การสร้างความสมดุลใหม่ในเอเชียแปซิฟิก" การส่งเสริมกำลังทหารในภูมิภาคเป็นเนื้อหาสำคัญในยุทธศาตร์ของสหรัฐฯ สถานการณ์ตึงเครียดของทะเลจีนใต้ทำให้สหรัฐฯ มีเหตุผลพอเพียงที่จะเพิ่มกำลังทหารมาแทรกแซง
สาม สหรัฐฯ สามารถใช้โอกาสนี้ส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศพันธมิตรและหุ้นส่วนให้ใกล้ชิดมากขึ้น สำหรับการที่สหรัฐฯ ประกาศว่าจะส่งเรือรบล้ำเข้าในน่านน้ำใกล้หมู่เกาะของจีน ผู้นำฟิลิปปินส์ รวมถึงผู้บัญชาการกองทัพฟิลิปปินส์ แสดงท่าทีสนับสนุนอย่างเปิดเผย ทั้งยังแสดงเจตนารมณ์ที่เข้าร่วมการดำเนินการ และเมื่อหลายเดือนก่อน ผู้นำระดับสูงของสหรัฐฯ ยุยงให้ญี่ปุ่นขยายพื้นที่ลาดตระเวนถึงทะเลจีนใต้ และกระตุ้นให้ญี่ปุ่นช่วยเหลือฟิลิปปินส์ด้านอาวุธ การอบรมและการต่อสู้
จีนมีความแน่วแน่และมีความสามารถในการป้องกันอธิปไตยและความมั่นคงของประเทศ จีนหวังว่า สหรัฐฯ จะระมัดระวังในปัญหานี้ ประเทศในภูมิภาค รวมถึงประเทศอาเซียน ไม่ยอมเห็นการทำลายความมั่นคงของทะเลจีนใต้ ผู้ก่อความวุ่นวายจะต้องถูกสงสัยและถูกประณาม จีนยังเตือนสหรัฐฯ ว่า อย่าลืมสถานการณ์ความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ โดยรวมสองประเทศกำลังสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศใหญ่แบบใหม่ ควรมุ่งผลักดันความร่วมมือที่อำนวยประโยชน์ต่อกัน ควบคุมและแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างแข็งขัน
In/Chu