ตามรัฐธรรมนูญพม่า สภาสูง สภาล่างและฝ่ายทหารที่ครองที่นั่ง 1 ใน 4 ในรัฐสภาจะเสนอชื่อผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีฝ่ายละ 1 คน หลังจากนั้นจะตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อพิจารณาและตัดสินใจว่าใครเป็นผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีวาระ 5 ปี ส่วนอีก 2 คนจะดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดี และรัฐบาลใหม่จะเริ่มทำงานในวันที่ 1 เมษายนนี้
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า การเลือกตั้งเดิมกำหนดจะจัดในวันที่ 17 มีนาคม ซึ่งใกล้กับวันที่ 1 เมษายนที่เป็นวันเริ่มปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาลใหม่ การเลื่อนเวลาในครั้งนี้แสดงว่า การเจรจาระหว่างนางออง ซานซูจีกับฝ่ายทหารคงไม่ราบรื่นนัก หนังสือพิมพ์เหลียนเหอเจ่าเป้าสิงคโปร์วิเคราะห์ว่า การที่นางออง ซาน ซูจีตัดสินใจเลื่อนเวลาเลือกตั้งประธานาธิบดีให้เร็วขึ้น อาจเพราะต้องการสิ้นสุดการเจรจากับฝ่ายทหารอย่างเฉียบขาด แต่ส.ส.ฝ่ายทหารคนหนึ่งเผยว่า ข่าวที่ว่าฝ่ายทหารกับนางออง ซาน ซูจีเจรจาเรื่องการแก้ไขมาตราเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีในรัฐธรรมนูญนั้นไม่จริง
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พลเอกอาวุโส มิน ออง ไล ผู้บัญชาการทหารสูงสุดพม่าระบุว่า กระบวนการสันติภาพพม่าเกิดขึ้นเพียง 5 ปีเท่านั้น ควรรอถึงเวลาที่เหมาะสมจึงจะแก้ไขมาตราสำคัญในรัฐธรรมนูญได้ ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณว่า ฝ่ายทหารไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญในเวลานี้ และนายอู เยทุต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงข่าวสารพม่าชี้ว่า ความจริงไม่ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ขอเพียงนางออง ซาน ซูจีให้บุตรชายกับภรรยาโอนสัญชาติเป็นพม่า ก็สามารถหลบหลีกข้อห้ามในรัฐธรรมนูญได้