เมื่อวันที่ 13 มีนาคมที่ผ่านมา เกิดเหตุก่อการร้ายแบบวางระเบิดรถยนต์ที่กรุงอังการา เมืองหลวงตุรกี เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 37 คน และอีกกว่า 120 คนได้รับบาดเจ็บ แม้ว่ายังไม่มีฝ่ายไหนประกาศรับผิดชอบเป็นผู้ก่อเหตุระเบิดครั้งนี้ แต่ทางการตุรกีเห็นว่า เหตุการณ์ครั้งนี้เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ของภูมิภาค คืนวันเดียวกัน นายเรเซฟ ตอยยิบ เออร์โดแกน ประธานาธิบดีตุรกีประกาศแถลงการณ์ว่า ประเทศเพื่อนบ้านของตุรกีมีสถานการณ์ที่ไม่สงบ ทำให้ตุรกีกลายเป็นเป้าโจมตีด้านการก่อการร้าย
ตลอดช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา ตุรกีเกิดเหตุก่อการร้ายรุนแรงจนทำให้มีผู้บาดเจ็บสมตายหลายครั้ง ตั้งแต่เมื่อวันที่ 10 ตุลาคมปี 2015 – วันที่ 12 มกราคมปีนี้เป็นต้นมา ในกรุงอังการาและเมืองอิสตันบูล เมืองขนาดใหญ่ที่สุดในตุรกีต่างเกิดเหตุการณ์ระเบิด ทางการตุรกีกล่าวว่า จากการตรวจสอบ ผู้ก่อเหตุทั้ง 2 ครั้งต่างมีความสัมพันธ์กับกลุ่มไอเอส
เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์นี้ ใจกลางกรุงอังการาเกิดเหตุระเบิดรถยนต์ โดยกลุ่มติดอาวุธชาวเคิร์ดชื่อ 'ผู้กระหายเสรีภาพเคอร์ดิสถาน'หรือทีเอเค ออกมาอ้างตัวเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุระเบิดดังกล่าว ทางการตุรกียืนยันเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์นี้ว่า กลุ่มทีเอเคเป็นผู้ก่อเหตุระเบิดครั้งนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เหตุการณ์ก่อการร้ายในตุรกีไม่ใช่เพียงมาจากกลุ่มก่อการร้ายต่างชาติ แต่ยังรวมกลุ่มติดอาวุธต่อต้านรัฐบาลด้วย ทางการตุรกีอาจจะไม่ได้มีคาดการณ์พอเพียงต่อความรุนแรงและความสลับซับซ้อนของปัญหาการก่อการร้ายภายในประเทศ
ตุรกีมีพื้นที่เชื่อมโยงกับทั้งทวิปยุโรปและเอเชีย มีข้อขัดแย้งรุนแรงระหว่างชนเผ่าและศาสนา นอกจากนี้ การที่มีอาณาเขตติดกับประเทศตะวันออกกลางต่างๆ เช่น อิรัก ซีเรีย เลบานอน ปาเลสไตน์และอิสราเอลที่มีสถานการณ์วุ่นวาย จึงกลายเป็นพื้นที่ที่ถูกพุ่งเป็นโจมตีจากกลุ่มก่อการร้าย สื่อมวลชนยุโรปและรัสเซียรายงานว่า ตั้งแต่กลุ่มไอเอสพัฒนาตัวเองในอิรักและภาคเหนือของซีเรียที่ติดกับตุรกี ทำให้ตุรกีกลายเป็นสถานที่ถ่ายโอนเหล่าผู้ก่อการร้ายชาวต่างชาติเข้าดินแดนอิรักและซีเรียเพื่อเข้าร่วมกลุ่มไอเอส และเป็นช่องทางสำคัญสำหรับกลุ่มไอเอสในการลักลอบค้าขายน้ำมันกับต่างประเทศเพื่อให้ได้มาซึ่งทุนก่อการร้ายจำนวนมาก
Toon/kt