นายนายคิม ชง ซอยกล่าวว่า ลุ่มแม่น้ำล้านช้าง – แม่น้ำโขงเป็นพื้นที่เดียวกัน มีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมที่ใกล้ชิด มีพื้นฐานความร่วมมือที่แน่นแฟ้น มีอนาคตกว้างไกลและมีศักยภาพใหญ่หลวง เขากล่าวว่า ภายใต้กลไกนี้ 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำล้านช้าง – แม่น้ำโขงสามารถที่จะกระชับความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมการผลิต จัดสรรทรัพยากรการผลิตอย่างสมเหตุสมผล เพิ่มความสามารถการแข่งขันในตลาดโลกของประเทศที่เกี่ยวข้อง มีส่วนช่วยส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของพม่า ลาว กัมพูชาและเวียดนาม ทำให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมประชาคมอาเซียนในฐานะที่เหมาะสม
เขาเห็นว่า สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของกลไกความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง – แม่น้ำโขงคือพยายามส่งเสริมการเชื่อมต่อระหว่าง 6 ประเทศ ซึ่งไทยกับจีนกำลังกำหนดโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงที่เชื่อมภาคเหนือกับใต้ของไทย โดยจะยื่นลึกเข้าสู่อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง คาดว่าจะนำมาซึ่งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมหาศาล ขณะเดียวกัน รัฐบาลไทยกับจีนยังได้แก้ไขปรับปรุงกฎข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมความร่วมมือและการไปมาหาสู่กันด้านการค้า การเงินและการลงทุนระหว่างสองประเทศด้วย
กลไกความร่วมมือลุ่มแม่น้ำล้านช้าง – แม่น้ำโขงมีทิศทางการพัฒนาสำคัญ 5 ประการ คือ การเชื่อมต่อทางคมนาคม ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมการผลิต ความร่วมมือของเศรษฐกิจข้ามชาติ ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ การเกษตรและการลดความยากจน ทั้งนี้มีบทบาทโดยตรงในการลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของเขตนี้
นายนายคิม ชง ซอยยังกล่าวว่า หลายปีมานี้ ควมร่วมมือทางการค้าระหว่างไทยกับจีนพัฒนาอย่างรวดเร็ว การแลกเปลี่ยนทางวัมนธรรมลงลึกยิ่งขึ้น ความร่วมมือด้านต่างๆ ประสบผลสำเร็จโดยถือหลัก " เคารพ เอื้อประโยชน์แก่กัน ไม่แทรกแซงกิจการภายใน" ความร่วมมือระหว่างจีนกับไทยสามารถเป็นตัวอย่างของความร่วมมือระหว่างจีนกับอาเซียน
(Yin/Lin)