ทูตจีนประจำพม่าระบุว่า ข้อริเริ่มโครงการความร่วมมือลุ่มน้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงถือกำเนิดขึ้นที่กรุงย่างกุ้งเมื่อปี ค.ศ.2014 ซึ่งขณะนั้นพม่าเป็นประธานหมุนเวียนอาเซียน นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีนเป็นผู้เสนอในที่ประชุมผู้นำอาเซียน-จีนที่กรุงเนปิดอว์
ประเทศต่างๆ ในลุ่มน้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงมีเทือกเขาและธารน้ำที่เชื่อมต่อกัน วัฒนธรรมมีความคล้ายคลึงกัน ทูตจีนประจำพม่าระบุว่า บุญวาสนาเป็นสิ่งที่ร้อยเรียงประเทศต่างๆ ดังกล่าวเข้าไว้ด้วยกันอย่างเหนียวแน่น เขาระบุว่า
"ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงมีภูเขาและธารน้ำที่ติดกับจีน และมีบุญวาสนาเป็นสิ่งที่ช่วยร้อยเรียงจีนกับประเทศต่างๆ ไว้ด้วยกันอย่างเหนียวแน่น เพราะเหตุใดจีนจึงเลือกความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-โขง ก็เพราะจีนกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นประชาคมที่มีบุญวาสนาร่วมกัน สิ่งที่มีความสำคัญมากก็คือ น้ำ หากปราศจากน้ำ จะมีบุญวาสนาร่วมกันได้อย่างไร เรามีแม่น้ำสายเดียวกัน ฉะนั้นจึงตั้งชื่อว่าโครงการความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ซึ่งตามธรรมชาติ และสะท้อนให้เห็นถึงสายสัมพันธ์ระหว่างจีนกับประเทศในภูมิภาคนี้ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและตามบุญวาสนา"
ประชาชนประเทศต่างๆ ในลุ่มน้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงดื่มน้ำสายเดียวกัน เมื่อเร็วๆ นี้ สถานการณ์ภัยแล้งบานปลาย ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่และภาคการผลิตของประชาชนทุกประเทศในลุ่มแม่น้ำนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคมไปจนถึงวันที่ 10 เมษายนนี้ จีนใช้มาตรการปล่อยน้ำสู่ปลายน้ำอย่างเร่งด่วนที่สถานีกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำจิ่งหง มณฑลยูนนาน ตามคำขอของเวียดนาม เพื่อช่วยบรรเทาภัยแล้งในพื้นที่ที่อยู่ปลายน้ำ ทูตจีนประจำพม่าระบุว่า
"การที่จีนปล่อยน้ำในปริมาณมากสู่พื้นที่ปลายน้ำของแม่น้ำโขง ก็เพื่อบรรเทาภัยแล้ง ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของประเทศต่างๆ ซึ่งรวมถึงพม่าด้วย ความร่วมมือเช่นนี้ มีส่วนส่งเสริมมิตรภาพที่มีมาแต่ดั้งเดิม ทั้งช่วยเพิ่มขนาดและยกระดับความร่วมมือให้สูงขึ้นเรื่อยๆ"
(IN/LING)