"ดื่มน้ำสายเดียวกัน ร่วมทุกข์ร่วมสุขไปด้วยกัน" ความร่วมมือด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ กรอบความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง
  2016-03-23 12:14:11  cri
การประชุมกรอบความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงครั้งแรกกำหนดจะจัดขึ้นที่เมืองซานย่า มณฑลไห่หนานของจีนวันนี้ (23 มี.ค.) นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน ตลอดจนผู้นำไทย กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม รวม 6 ประเทศจะร่วมประชุม และจะประกาศเริ่มต้นกลไกความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ประเด็นหลักของการประชุมครั้งนี้ คือ "ดื่มน้ำสายเดียวกัน ร่วมทุกข์ร่วมสุขไปด้วยกัน" ศ.เฉิน เฟิ่งอิง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเศรษฐกิจโลก สถาบันวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยใหม่ของจีนให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอว่า ความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงถือกำเนิดขึ้นจากน้ำ สองฝ่ายจะดำเนินความร่วมมือด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อให้ประชาชนลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงสามารถอุปโภค-บริโภคน้ำได้ดีกว่าเดิม

ศ.เฉิน เฟิ่งอิงระบุว่า กรอบความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงจะครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขาใหญ่ๆ ได้แก่ การส่งเสริมความเชื่อมโยง ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจข้ามพรมแดน การบริการจัดการทรัพยากรน้ำ และการเกษตรและการลดความยากจน สำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ซึ่งถูกจัดเป็นอันดับที่ 4 สองฝ่ายควรดำเนินความร่วมมือทุกด้าน เพราะการพัฒนาลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงเป็นการพัฒนาที่ครอบคลุมในหลากหลายมิติ กลไกความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงจึงมีความแตกต่างกับกลไกอื่นๆ จากผลการศึกษาวิจัยในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ศ.เฉิน เฟิ่งอิงระบุว่า โอกาสความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำยังมีอีกมาก อันจะนำมาซึ่งผลประโยชน์ที่แท้จริงแก่ประชาชนในท้องถิ่น

(TOON/LING)

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040