ตั้งแต่พม่าจัดการเลือกตั้งทั่วประเทศเมื่อปีที่แล้ว สถานการณ์การเมืองพม่าได้เข้าสู่ช่วงปฏิรูปครั้งใหญ่ จนถึงปลายเดือนมีนาคม ประธานาธิบดีคนใหม่ประกอบพิธีปฏิญาณตนขึ้นดำรงตำแหน่ง พร้อมจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ต้นเดือนเมษายน รัฐสภาได้เพิ่มตำแหน่ง "ที่ปรึกษาแห่งรัฐ" ทำให้โครงสร้างการเมืองพม่าแบบใหม่เริ้มเห็นเป็นรูปร่างชัดเจน ใครจะเป็นผู้ที่มีอำนาจที่สุดหลังพม่าพ้นจากร่มเงาของรัฐบาลทหารมานานกว่าหลายสิบปี
พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือพรรคเอ็นแอลดีเสนอรายชื่อผู้นำแห่งชาติพม่าตามตำแหน่ง ดังนี้ 1.ประธานาธิบดี 2. ที่ปรึกษาแห่งรัฐ 3. รองประธานาธิบดีลำดับหนึ่ง 4. รองประธานาธิบดีลำดับสอง 5. ประธานสภาประชาชน 6. ประธานสภาแห่งชาติ 7. ประธานศาลแห่งชาติ 8.ผู้บัญชาการทหารป้องกันประเทศ 9. ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และ10.ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งชาติ
ตั้งแต่พรรคเอ็นแอลดีชนะการเลือกตั้งเมื่อสิ้นปีที่แล้ว บทบาทของนางออง ซาน ซูจีในอำนาจรัฐใหม่ก็มีการกำหนดอย่างชัดเจน ไม่มีคนสงสัยถึงความสามารถในการนำและการกล่าวของเธอ แม้ว่าในรายชื่อดังกล่าว เธอจะอยู่อันดับที่ 2 รองจากประธานาธิบดี แต่ความเป็นจริง เธอคือผู้ที่มีอำนาจที่สุด ไม่ว่าจะในกลุ่มผู้นำหรือในการกำหนดนโยบายและกิจการการเมือง เธอก็อยู่ในฐานะที่ไม่มีใครจะเทียบได้
In/LR