รัฐมนตรีต่างประเทศจีนระบุ การกดดันจีนด้วยการยื่นฟ้องคดีนั้นเป็นการกระทำที่มีอคติทางกฎหมาย
  2016-04-23 15:38:08  cri

สำนักข่าวซินหวารายงานว่า วันที่ 22 เมษายนที่ผ่านมา นายหวัง อี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีนให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวพร้อมกับนายปราก สกคุน (Prak Sokhonn) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศกัมพูชาที่กรุงพนมเปน ประเทศกัมพูชาว่า บางคนกล่าวว่า หากเกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศ การยื่นฟ้องคดีต่อศาลโลกจะเป็นการกระทำที่สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ และการไม่ยอมรับการตัดสินของศาลโลกก็จะเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายระหว่างประเทศ แต่จริงๆ แล้วในภาคปฏิบัติระหว่างประเทศ คำพูดดังกล่าวไม่มีเหตุผลที่พอจะยึดถือได้ ช่วงที่ผ่านมา บางประเทศกดดันจีนด้วยคดียื่นฟ้องจีนเรื่องความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ การกระทำเช่นนี้ เป็นการผิดมารยาททางการเมือง และมีอคติทางกฎหมาย

นายหวัง อี้ กล่าวว่า จีนตัดสินใจไม่ขอเข้าร่วมในสังเวียนดังกล่าว และ จะไม่ยอมรับคดีที่ฟิลิปปินส์ยื่นฟ้องจีนต่อศาลโลกเรื่องคววมขัดแย้งในทะเลจีนใต้ ด้วยมีเหตุผลทางด้านกฎหมายมากพอดังนี้

ประการแรก กฎบัตรสหประชาชาติ และกฎหมายระหว่างประเทศระบุว่า สนับสนุนประเทศต่างๆ แก้ไขปัญหาขัดแย้งด้วยสันติวิธีโดยผ่านการเจรจา อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฏหมายทะเล (UNCLOS) ก็ระบุว่า เคารพสิทธิ์ของทุกประเทศในการเลือกวิธีการแก้ไขความขัดแย้ง การที่จีนยืนยันจะให้ประเทศคู่กรณีแก้ไขข้อขัดแย้งด้วยการเจรจาโดยตรง และไม่ยอมรับการตัดสินของศาลโลกนั้นสอดคล้องกับสิทธิอำนาจที่ชอบด้วยกฎหมายของจีน

ประการที่ 2 เมื่อ 10 ปีที่แล้ว รัฐบาลจีนออกแถลงการณ์ระบุว่า ตามมาตรา 298 ของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล จีนมีสิทธิที่จะปฏิเสธ ไม่ปฏิบัติตามการตัดสินจากอำนาจฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แม้ฟิลิปปินส์จะอ้างเหตุผลต่างๆ นานาน ในการยื่นฟ้องจีน แต่ผู้ที่มีความรู้กฎหมายย่อมรู้ดีว่า การยื่นฟ้องดังกล่าวเกี่ยวพันและกระทบถึงอธิปไตยเหนือดินแดน และสิทธิประโยชน์ทางทะเลของจีน จึงอยู่ในขอบเขตที่จีนสามารถปฏิเสธไม่ปฏิบัติตามการตัดสินของอำนาจฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้

ประการที่ 3 ข้อที่ 4 ของ ปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีทะเลจีนใต้ (DOC)ที่จีนและกลุ่ม 10 ประเทศอาเซียนร่วมลงนามระบุอย่างชัดเจนว่า ควรให้ประเทศคู่กรณีแก้ไขข้อขัดแย้งโดยผ่านการเจรจา ด้วยสาเหตุนี้ การที่จีนไม่เข้าร่วมสังเวียนต่อสู้ และไม่ยอมรับการตัดสินคดีนั้นจึงเป็นการปฏิบัติตามภาระหน้าที่ และพันธกรณีของจีน เป็นการรักษาความน่าเชื่อถือและความเคร่งครัดของปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีทะเลจีนใต้

จากเหตุผล 3 ประการดังกล่าวจะเห็นได้ชัดว่า จุดยืนของจีนที่มีต่อคดียื่นฟ้องจีนนั้นสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฏหมายทะเล

สุดท่าย นายหวัง อี้ กล่าวว่า การที่ฟิลิปปินส์ยื่นฟ้องจีนโดยลำพังนั้นเป็นการฝ่าฝืนธรรมเนียมปฏิบัติระหว่างประเทศ เพราะการยื่นฟ้องคดีได้นั้นจะต้องได้รับความเห็นชอบจากประเทศคู่กรณีก่อน และยังผิดคำมั่นสัญญาของฟิลิปปินส์ที่ระบุไว้ในข้อตกลงระหว่างจีน-ฟิลิปปินส์ว่า จะแก้ไขข้อพิพาทโดยผ่านการเจรจาแบบทวิภาค อีกทั้งยังละเมิดข้อที่ 4 ของ ปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีทะเลจีนใต้ ที่ระบุว่า ให้ประเทศคู่กรณีแก้ไขข้อพิพาททางดินแดนด้วยการเจรจาอย่างเป็นมิตร สรุปได้ว่า การกระทำของฟิลิปปินส์ดังกล่าวเป็นการบิดเบือนกฎระเบียบระหว่างประเทศในการยื่นฟ้องคดี และเป็นการใช้กฎหมายระหว่างประเทศโดยขาดการไตร่ตรองยั้งคิด

(TOON/cai)

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040