วงการภาพยนตร์จีนบูมใช้ไทยเป็นโลเกชั่น(ตอนต้น)
  2016-04-29 19:51:39  cri

ประเพณีการถ่ายภาพยนตร์ในเมืองไทย เริ่มต้นและเป็นที่นิยมกันในวงการภาพยนตร์ฮ่องกงมาก่อน นายจาง ต้ง ผู้จัดการบริษัท Artop สาขาประเทศไทยเป็นผู้อยู่เบื้องหลังที่ช่วยผลักดันการส่งออกภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ไทยไปยังตลาดจีน บอกผู้สื่อข่าวว่า ทุกวันนี้ ทรัพยากรด้านสถานที่ถ่ายทำของไทยนับวันมีอิทธิพลสูงยิ่งขึ้นในวงการบันเทิงของจีน มีทีมงานผลิตหนังของจีนคัดสรรสถานที่หรือถ่ายหนังอย่างจริงจังในประเทศไทยเกือบทุกวัน

เนื่องจากกองกิจการภาพยนตร์อยู่ใต้สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หากทีมงานผลิตหนังต่างชาติได้รับใบอนุญาตจากกองกิจการภาพยนตร์แล้ว หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องก็จะช่วยประสานงานให้ไปถ่ายฉากหนังในสถานที่สาธารณะ อุทยานแห่งชาติ สนามบิน จนกระทั่งฐานทัพได้ตามความต้องการ เมื่อปี 2015 ทีมงานผลิตหนัง "Detective Chinatown" ต้องการปิดถนนเพื่อถ่ายทำฉากสำคัญบางฉาก หน่วยงานการท่องเที่ยวก็มาช่วยประสานงานกับหน่วยงานบริหารการจราจร ปิดถนนทั้งสายเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับทีมงานผลิตหนังของจีนอย่างดี

สำหรับการทำงานของทีมงานผลิตหนังของจีน อุปสรรคสำคัญในขณะนี้คือ เรื่องการสื่อสารเพราะพูดภาษาไทยไม่เป็น จึงต้องนำลูกทีมทุกส่วนจากจีนมาทำงานในเมืองไทย ทั้งๆ ที่ลูกทีมคนไทยบางทีมีค่าจ้างถูกกว่าคนจีนด้วยซ้ำ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ทีมงานผลิตหนังของจีน กองกิจการภาพยนตร์กำลงส่งเสริมให้ลูกทีมของทีมงานถ่ายทำดีเด่นของไทยเรียนภาษาจีน เป็นมาตรการกระตุ้นผู้ผลิตหนังของจีนให้มาทำงานในเมืองไทยมากขึ้น แถมประหยัดต้นทุนด้วย

ประเทศไทยลือชื่อด้วยความได้เปรียบในการถ่ายทำและตัดต่อภาพยนตร์อย่างมีคุณภาพสูงแต่ต้นทุนต่ำมาเป็นเวลาเนิ่นนาน หนังฮอลลีวู๊ดเลื่องชื่อ เช่น "The Man With The Golden Gun" และ "The Killing Fields" ช่วงทศวรรษ 1970 – 1980 ล้วนถ่ายทำในเมืองไทย นับเป็นสัญลักษณ์ที่ฮอลลีวู๊ดเปิดประตูแห่งการไปผลิตหนังในเมืองไทย ขณะเดียวกัน ก็มีส่วนช่วยต่อการผลักดันอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยให้พัฒนาอย่างรวดเร็ว


1 2
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040