ปี 2016 อิตาลีซึ่งเป็นสมาชิก G20 ต้องปวดหัวกับปัญหาทั้งเก่าและใหม่ เช่น เศรษฐกิจถดถอย หนี้ท่วมตัว อัตราว่างงานสูง ระบบธนาคารเผชิญกับวิกฤต เป็นต้น ส่วนเศรษฐกิจของอังกฤษกับเยอรมนีได้รับผลกระทบจากปัญหาการเมืองและสังคม จนอังกฤษต้องจัดการลงประชามติเพื่อตัดสินใจว่าจะอยู่ในสหภาพยุโรปต่อไปหรือไม่ และผลการลงประชามติที่ไม่แน่ไม่นอนย่อมส่งผลต่อความมั่นใจของอังกฤษกระทั่งทั่วยุโรป ส่วนปัญหาผู้ลี้ภัยถือเป็นเรื่องปวดหัวที่สุด และสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นสมาชิกสำคัญของ G20 ถึงแม้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นฟู แต่ยังไม่สามารถทำให้ประชาชนได้รับผลประโยชน์อย่างแท้จริง รายได้ของประชาชนทั่วไปตกต่ำลงเรื่อยๆ ความเหลื่อมล้ำของสังคมเพิ่มมากขึ้น กลุ่มชนชั้นกลางลดน้อยลง
อีกด้่านหนึ่ง สมาชิก G20 ที่เป็นประเทศกำลังพัฒนา การส่งออกและการผลิตหดตัวลงเรื่อยๆ เนื่องจากปัญหาเก่ายังไม่ทันแก้และได้รับผลกระทบจากการถดถอยของเศรษฐกิจโลก อีกทั้งต้องเผชิญกับแรงกดดันจากค่าเงินที่อาจตกต่ำลงเนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯ จะปรับเพิ่มดอกเบี้ย
เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ ดังกล่าว ประชาคมโลกจำเป็นต้องเร่งเำ้นินการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ พยายามสร้างดุลยภาพระหว่างฝ่ายต่างๆ โดยคำนึงถึงความต้องการของทุกฝ่าย และอาศัยจุดเด่นของกันและกัน จึงจะส่งเสริมให้เศรษฐกิจโลกค่อยๆ ก้าวสู่ความสมดุล