หนังสือพิมพ์เหรินหมินรึเป้ารายงานว่า เกี่ยวกับคดีข้อพิพาททะเลจีนใต้ที่ฟิลิปปินส์ได้ยื่นฟ้องสิบกว่าประการ ซึ่งเป้าหมายของการยื่นฟ้องประการแรกและประการที่สองก็คือ ยื่นให้ศาลชี้ขาดว่าสิทธิตามประวัติศาสตร์ของจีนในแผนที่เส้นปะ 9 เส้นในทะเลจีนใต้นั้นฝ่าฝืน "อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล" ฉบับปี 1982 ปฏิเสธความชอบด้วยกฎหมายของการที่จีนใช้สิทธิในทะเลจีนใต้ ระหว่างกระบวนการตัดสิน ฟิลิปปปินส์ได้บิดเบือนประวัติศาสตร์ วินิจฉัยโดยการคาดคะเนนสิทธิตามประวัติศาสตร์ของจีนและตีความ"อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล"อย่างผิดๆ
ฟิลิปปินส์ไม่สนใจพื้นฐานความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ อ้างอย่างเลื่อนลอยว่าในประวัติศาสตร์ประชาชนจีนไม่ได้มีกิจกรรมใดๆ ในทะเลจีนใต้ ขาดการเชื่อมโยงกับทะเลจีนใต้ ทว่า ประวัติศาสตร์ปฏิเสธไม่ได้ จีนมีกิจกรรมในทะเลจีนใต้ ซึ่งมีประวัติศาสตร์กว่า 2,000 ปีแล้ว จีนไม่เพียงแต่ได้พบ ตั้งชื่อและบุกเบิกพัฒนาหมู่เกาะในทะเลจีนใต้ตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนประเทศอื่นเท่านั้นทั้งสิ้น รัฐบาลทุกสมัยได้บริหารหมู่เกาะทะเลจีนใต้ตลอดจนน่านน้ำบริเวณหมู่เกาะทะเลจีนใต้โดยใช้วิธีการต่างๆ เช่น การตั้งเขตบริหาร การลาดตระเวนทางทหาร และให้ความช่วยเหลือ ญี่ปุ่นได้ยึดครองหมู่เกาะซีซาและหนานซาของจีนในสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง "แถลงการณ์ไคโร" และ "แถลงการณ์พอทสดัม (Potsdam)" เรียกร้องอย่างชัดเจนให้ญี่ปุ่นคืนดินแดนให้กับจีน จีนได้ส่งเจ้าหน้าที่ทหารไปรับคืนหมู่เกาะซีซาและหนานซาตามแถลงการณ์ดังกล่าว และส่งทหารประจำการ ฟื้นฟูอธิปไตยในหมู่เกาะทะเลจีนใต้ตลอดจนน่านน้ำบริเวณโดยรอบ
ฟิลิปปินส์ได้แยกสิทธิของจีนออกจากประวัติศาสตร์ที่มีต่อหมู่เกาะทะเลจีนใต้ตลอดจนน่านน้ำในบริเวณแผนที่เส้นปะของทะเลจีนใต้ มุ่งหมายที่จะตัดสินว่าสิทธิตามประวัติศาสตร์ของจีนเป็นข้อเสนอใหม่ที่เสนอไว้เมื่อปี 2009 ซึ่งเป็น 29 ปีหลังจาก"อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล"ประกาศใช้ แต่ความเป็นจริงคือ รัฐบาลจีนเน้นหลายครั้งว่า อธิปไตยและสิทธิที่เกี่ยวข้องของจีนต่อหมู่เกาะในทะเลจีนใต้ตลอดจนน่านน้ำบริเวณโดยรอบนั้นมีมาจากกระบวนการในประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน ปี 1947 รัฐบาลจีนได้ตั้งชื่อหมู่เกาะทะเลจีนใต้ใหม่หลังทำรังวัดทางภูมิศาสตร์ เมื่อปี 1948 รัฐบาลจีนได้ทำแผนที่วาดเส้นปะในทะเลจีนใต้ โดยย้ำและยืนยันอธิปไตยและสิทธิที่เกี่ยวข้องในทะเลจีนใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมปี 1949 เป็นต้นมา รัฐบาลจีนยืนหยัดและใช้ปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรมรักษาสิทธิตามประวัติศาสตร์ในทะเลจีนใต้