บทความระบุว่า การที่จีนพิทักษ์อธิปไตยเหนือเกาะต่างๆ ในทะเลหนานไห่เป็นการใช้สิทธิอันชอบธรรมของตน ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง จีนเรียกคืนอธิปไตยเหนือหมู่เกาะหนานซาและหมู่เกาะซีซาตามปฏิญญาไคโรและแถลงการณ์พอทสดัม ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 เป็นต้นมา บางประเทศเริ่มยึดเกาะและหินโสโครกบางแห่งในหมู่เกาะหนานซาโดยมิชอบ วิธีเดียวในการแก้ข้อพิพาททะเลหนานไห่คือ ประเทศคู่กรณีเจรจากันโดยตรง จีนกับ 14 ประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกันทางบกได้ลงนามข้อตกลงเกี่ยวกับการปักปันเขตแดน การแก้ปัญหาทะเลหนานไห่ก็ควรใช้วิธีนี้เช่นกัน
นายจู ไห่ฉวนกล่าวในบทความว่า จีนใช้ท่าทียับยั้งชั่งใจต่อการแก้ไขปัญหานี้มาโดยตลอด การก่อสร้างบนเกาะบางแห่งล้วนเพื่อใช้ประโยชน์ทางสันติภาพ จะไม่ส่งผลกระทบต่อเสรีในการเดินเรือและการบินทั้งสิ้น การที่จีนไม่เข้าร่วมและไม่ยอมรับผลการอนุญาโตตุลาการที่ฟิลิปปินส์ยื่นฟ้องต่อศาลระหว่างประเทศโดยลำพังฝ่ายเดียวนั้น ถูกต้องตามกฎหมายระหว่างประเทศ
สำหรับเหตุการณ์เครื่องบินทหารจีนและสหรัฐฯ คุมเชิงกัน บทความระบุว่า เรื่องจริงที่จีนรับทราบมาคือ เครื่องบินทหารสหรัฐฯสอดแนมเหนือชายฝั่งทะเลจีน เครื่องบินทหารจีนติดตามในระยะห่างที่ปลอดภัย การกระทำของจีนสอดคล้องกับมาตรฐานความปลอดภัย ส่วนเครื่องบินทหารสหรัฐฯ ทำ่ท่าขู่ขวัญ ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ปลอดดภัยและไร้ความเป็นมืออาชีพ
เมื่อเร็วๆ นี้ นายเบน เรย์นอลดส์ นักวิเคราะห์นโยบายการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาเขียนบทความเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชนว่า บทความ"ประลองความกล้าในทะเลหนานไห่"ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์สะท้อนให้เห็นทัศนคติที่ผิดแต่เป็นที่ยอมรับกันในบรรดาผู้วางนโยบายของสหรัฐฯ พวกเขาเห็นว่าควรใช้มาตรการแข็งกร้าวต่อท่าทีของจีนในปัญหาทะเลหนานไห่ แต่ที่ผิดอย่างมหันต์คือ ความคิดเห็นดังกล่าวมองการคุกคามจากจีนต่อสหรัฐฯ หนักเกินความจริง ทว่าหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์กลับให้การสนับสนุน