ทว่า คดีหนานไห่ที่ฟิลิปปินส์ยื่นต่อศาลโลก ทำให้มองเห็นถึงความไม่น่าเชื่อถือของบางประเทศ หากมองในแง่กฎหมายสากล คดีหนานไห่ได้ฝ่าฝืนกฎหมายสากล การที่จีนไม่ยอมรับและไม่ร่วมกระบวนการตัดสินคดีนี้ จึงเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล และถือเป็นการเคารพและพิทักษ์ศักดิ์ศรีของกฎหมายสากล หากมองในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การยื่นและผลักดันให้ศาลโลกตัดสินคดีหนานไห่โดยลำพังฝ่ายเดียว ถือเ้ป็นการสวนทางกับหลักการแห่งความสัมพันธ์ทางการทูต
เมื่อปี 2002 จีนกับประเทศอาเซียนรวมทั้งฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันลงนามในปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลหนานไห่ โดยทุกฝ่ายเห็นด้วยที่จะแก้ไขข้ิอพิพาทเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือดินแดนด้วยการปรึกษาหารือและการเจรจาอย่างเป็นมิตร ปี 2011 ฟิลิปปินส์กับจีนร่วมกันประกาศคำแถลงว่าจะเคารพและปฏิบัติตามปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลหนานไห่ แต่เมื่อปี 2013 ฟิลิปปินส์กลับยื่นปัญหาหนานไห่ต่อศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศโดยลำพังฝ่ายเดียว ทั้งๆ ที่จีนคัดค้านอย่างรุนแรง
สิ่งที่ตกลงกันแล้วควรปฏิบัติอย่างจริงจัง นี่เป็นความรู้พื้นฐาน จึงมีผู้เชี่ยวชาญกฎหมายสากลและนักการทูตชี้ให้เห็นว่า ฟิลิปปินส์ฝ่าฝืนคำสัญญา ประเทศต่างๆ ควรเรียกร้องให้ฟิลิปปินส์หยุดมองข้ามปฏิญญาดังกล่าว และไม่ควรยื่นข้อพิพาทต่อศาลสา่กล
ด้านศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ทราบว่าฟิลิปปินส์ฝ่าฝืนคำสัญญา แต่ยังคงดำเนินการพิพากษา ถือเป็นการให้ื้ท้ายพฤติกรรมทรยศ จะกลายเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีในระบบกฎหมายสากล จนส่งผลเสียต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ศาสตรจารย์ทอม ซวาร์ตจากวิทยาลัยกฎหมายมหาวิทยาลัยยูเตรชต์ของเนเธอร์แลนด์ระบุว่า องค์กรตุลาการควรปฏิบัติตามหลักการความเป็นกลางและความเที่ยงธรรม สำหรับกรณีพิพาทที่ไม่เหมาะกับการแก้ไขด้วยกฎหมาย ศาลไม่ควรพิพากษา
เมื่อเร็วๆ นี้ ว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่่างประเทศฟิลิปปินส์กล่าวว่า ยินดีเจรจาปัญหาทะเลหนานไห่กับจีน ซึ่งถือเป็นสิ่งที่น่ายินดี
หวังว่าฟิลิปปินส์จะทำตัวให้เป็นประเทศที่น่าเชื่อถือและเคารพ ส่วนศาลโลกและประเทศนอกภูมิภาคอาเซียน ควรระมัดระวังคำพูดและการกระทำของตนอย่าให้ผิดเพี้ยนไปจากจริยธรรมและความรู้พื้นฐาน