ประการแรก การพิพากษาคคีเกี่ยวกับข้อพิพาททะเลจีนใต้นั้นละเมิดหลักการของกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น ศาลไม่ได้พิสูจน์ข้อพิพาทระหว่างจีน-ฟิลิปปินส์อย่างชัดเจน และถูกต้องระหว่างตัดสินขอบเขตอำนาจของศาลในการพิพากษาคดีดังกล่าว ฟิลิปปินส์จ่ายค่าใช้จ่ายการดำเนินคดีนี้เพียงผู้เดียว กระบวนการดำเนินคดีเป็นไปอย่างรวดเร็วจนผิดปกติ ทางศาลไม่พิจารณาข้อเรียกร้องขของจีนที่ให้ทางศาลพิจารณาขอบเขตอำนาจการพิพากษาคดีนี้ นอกจากนี้ ผู้พิพากษาบางคนไม่เคารพหลักการที่ว่า กฎหมายต้องมีความต่อเนื่อง บุคคลเหล่านี้เปลี่ยนจุดยืนเดิมของตน โดยไม่ให้คำอธิบายใดๆ ทั้งสิ้น จากที่กล่าวมาข้างต้นนี้ นักกฎหมายจำนวนมากกังวลว่า การพิพากษาคดีเกี่ยวกับข้อพิพาททะเลจีนใต้จะส่งผลกระทบทางลบต่อกฎหมายระหว่างประเทศ
ประการที่ 2 กรณีที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดของคู่กรณีพิพาทไม่ร่วมกระบวนการดำเนินคดีมีกว่า 14 รายแล้ว ปรากฏการณ์เช่นนี้จึงไม่เป็นเรื่องแปลกประหลาด ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ ศาลระหว่างประเทศ โดยเฉพาะศาลโลกจึงได้ใช้ความระมัดระวังมากในการดำเนินคดี เพื่อจะได้ปฏิบัติต่อคู่กรณีอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน แต่ศาลตัดสินคดีเกี่ยวกับข้อพิพาททะเลจีนใต้กลับวางตัวไม่เป็นกลาง ไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างถูกต้อง
ประการที่ 3 ผู้ร่วมประชุมเห็นว่า อนุสัญญาสหประชาชาติมิได้ปฏิเสธกรรมสิทธิ์ทางประวัติศาสตร์ และสิทธิประโยชน์ทางประวัติศาสตร์ แต่ศาลพิพากษาคดีเกี่ยวกับข้อพิพาททะเลจีนใต้กลับไม่เคารพข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์ นี่ก็เป็นการฝ่าฝืนหลักการของกฎหมายระหว่างประเทศอีก
สุดท้าย ผู้ร่วมประชุมเห็นว่า ศาลพิพากษาคดีทะเลจีนใต้บิดเบือนเนื้อหาในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ขยายขอบเขตอำนาจการพิพากษาคดีของตน สร้างความเสียหายกับ ประสิทธิผลและความเป็นธรรมของกฎหมายระหว่างประเทศ
ผู้ร่วมประชุมเรียกร้องศาลพิพากษาคดีทะเลจีนใต้เคารพข้อกำหนดเกี่ยวกับขอบเขตอำนาจในการตัดสินคดีของศาลระหว่างประเทศ ซึ่งระบุไว้ในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล พิจารณาจุดยืนของจีนอย่างเต็มที่และจริงจัง ซึ่งจีนเน้นมาโดยตลอดว่า ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ข้อพิพาทเกี่ยวกับการปักปันเขตแดนทางทะเล และกรรมสิทธิ์ทางประวัติศาสตร์จะไม่อยู่ในขอบเขตอำนาจการพิพากษาของศาลระหว่างประเทศ (YIM/cai)