วันที่ 12 กรกฎาคมที่ผ่านมา ศาลอนุญาโตตุลาการประกาศคำพิพากษาเป็นที่สุดในคดีข้อพาททะเลจีนใต้ที่ยื่นฟ้องโดยฟิลิปปินส์โดยลำพังฝ่ายเดียวซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย จีนประกาศแถลงการณ์ในวันเดียวกันว่า มีอธิปไตยเหนือดินแดนทะเลจีนใต้ ไม่ยอมรับผลการอนุญาโตตุลาการ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมา รัฐบาลจีนออกสมุดปกขาวเกี่ยวกับการแก้ข้อขัดแย้งทะเลจีนใต้ด้วยการเจรจา ผู้นำ อดีตนักการเมือง ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการของประเทศอาเซียนพากันสนับสนุนจุดยืนที่ชอบธรรมของจีนในปัญหาทะเลจีนใต้
สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาระบุว่า ผลการอนุญาโตตุลาการคดีข้อพาททะเลจีนใต้เกิดขึ้นจากจุดประสงค์ทางการเมือง กัมพูชาจะไม่สนับสนุนผลการตัดสิน เคยมีเอกอัครราชทูตของประเทศนอกอาเซียนหมายจะโน้มน้าวให้กัมพูชาและประเทศอาเซียนอื่นๆ สนับสนุนผลการอนุญาโตตุลาการ เขากล่าวว่า กำลังภายนอกบางส่วนหมายจะระดมกำลังต่อต้านจีน ทั้งนี้จะส่งผลกระทบทางลบต่ออาเซียนและภูมิภาคนี้ เขาเรียกร้องประเทศนอกภูมิภาคหยุดแทรกแซงปัญหาทะเลจีนใต้ ให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องแก้ไขข้อขัดแย้งด้วยการเจรจาทวิภาคี
ศาสตราจารย์ ดร. สุรชัย ศิริไกร คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญปัญหาระหว่างประเทศที่มีชื่อเสียงของไทยกล่าวว่า ข้อมูลทางประวัติศาสตร์มากมายแสดงให้เห็นว่า บรรพบุรุษจีนเริ่มใช้ชีวิตในทะเลจีนใต้เมื่อ 2,000 ปีก่อน จีนเป็นผู้พบ ตั้งชื่อและบุกเบิกพัฒนาหมู่เกาะในทะเลจีนใต้และน่านน้ำโดยรอบเก่าแก่ที่สุด เป็นผู้มีอธิปไตยและบริหารหมู่เกาะในทะเลจีนใต้และน่านน้ำโดยรอบเก่าแก่ที่สุด และดำเนินมาอย่างสันติ ต่อเนื่องและมีประสิทธิผล ดังนั้น จีนจึงมีสิทธิในทะเลมาตั้งแต่ประวัติศาสตร์ที่รับรองโดยกกฎหมายระหว่างประเทศ
ศาสตราจารย์ ดร. สุรชัย ศิริไกรเห็นว่า ในฐานะเป็นประเทศใหญ่ของภูมิภาค จีนเป็นมิตรกับประเทศเพื่อนบ้านมาโดยตลอด ในประวัติศาสตร์ ในเขตทะเลจีนใต้ จีนอนุมัติให้ประชาชนของประเทศโดยรอบใช้หมู่เกาะในทะเลจีนใต้ในส่วนที่เป็นของจีนและน่านน้ำโดยรอบอย่างมีข้อจำกัด แสดงให้เห็นถึงอารยธรรมทางการเมืองดั้งเดิมของตะวันออก สะเทือนให้เห็นการเปิดกว้างของจีนที่เป็นประเทศที่มีความรับผิดชอบ แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายถึงจีนยกอธิปไตยเหนือหมู่เกาะในทะเลจีนใต้และน่านน้ำโดยรอบให้ ผลการตัดสินของศาลอนุญาโตตุลาการว่า จีนขาดหลักฐานทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิทางประวัติศาสตร์ในทะเลจีนใต้จึงเป็นเรื่องที่ไม่ถูดต้องอย่างยิ่ง
Prof. Natee Taweesrifuengfung ผู้ช่วยอธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ กล่าวว่า การอนุญาโตตุลาการไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหา และเป็นโมฆะด้วย ตามประวัติศาสตร์ ศาลอนุญาโตตุลาการที่จัดตั้งขึ้นโดยมิชอบด้วยกฎหมายไม่มีสิทธิตัดสินข้อพิพาทอนุญาโตตุลาการ การอนุญาโตตุลาการเพียงแต่จะทำให้สถานการณ์สลับซับซ้อนยิ่งขึ้น การเจรจาตามหลักการ "ปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติการของภาคีในทะเลจีนใต้" จึงเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
In/LR