วันที่ 16 กรกฎาคม พลเอกอูมิต ดุนดา(Umit Dunda) เสนาธิการรักษาการกองกำลังอาวุธตุรกีระบุว่า เมื่อค่ำวันที่ 15 กรกฎาคมที่ผ่านมา การพยายามก่อรัฐประหารทำให้มีผู้เสียชีวิต 194 ราย รวมถึงตำรวจ 41 นาย ชาวบ้าน 49 ราย และผู้เข้าร่วมรัฐประหาร 104 ราย รัสเซีย ปากีสถาน กรีซ โซมาเลีย จอร์แดน ตลอดจนสหภาพยุโรปและองค์การนาโตต่างให้ความสนใจต่อรัฐประหารตุรกี
นายเรเซป เออร์โดกัน ประธานาธิบดีตุรกีแสดงว่าจะขจัดผู้ก่อรัฐประหารอย่างเด็ดขาด เพื่อรักษาความสะอาดของทหารตุรกี
วันเดียวกัน นายโมเกนส์ ไลคเคทอฟต์ (Mogens Lykketoft)ประธานสมัชชาสหประชาชาติครั้งที่ 70 ประกาศแถลงการณ์ ประณามทหารตุรกีบางส่วนก่อรัฐประหาร นายฌองเจียน ยุงเกอร์ ประธานคณะกรรมการสหภาพยุโรป นายโดนาล์ด ทุสค์ (Donald Tusk)ประธานคณะมนตรียุโรป และนางเฟรเดแริกา โมเกรีนี(Frederica Mogherini) ผู้แทนระดับสูงฝ่ายวิเทศสัมพันธ์นโยบายความมั่นคงของสหภาพยุโรปประกาศแถลงการณ์ร่วมโดยระบุว่า ตุรกีเป็นหุ้นส่วนสำคัญของสหภาพยุโรป สหภาพยุโรปสนับสนุนรัฐบาลและองค์กรที่เลือกตั้งอย่างประชาธิปไตยโดยประชาชนตุรกี นาย เจนส สตอล์เตนเบิร์ก(Jens Stoltenberg) เลขาธิการนาโตประกาศแถลงการณ์ เรียกร้องให้ฝ่ายต่างๆ ของตุรกีรักษาความยับยั้งชั่งใจ เคารพระบบประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญ
Yim/LR