ความจริงคือ
1. ความรู้สึกหนาวและตัวสั่นตอนเข้ามาในห้างสรรพสินค้าใหม่ๆ เพราะว่าอุณหภูมิภายในกับภายนอกอาคารมีความแตกต่างกันมาก ร่างกายต้องปรับตัวจึงรู้สึกวูบวาบเหมือนไม่สบาย
2. การอยู่ในห้องแอร์และรู้สึกเวียนหัว เนื่องจากมีการถ่ายเทอากาศไม่ค่อยดี ขาดออกซิเจน
3. อยู่ห้องแอร์แล้วรู้สึกปวดขา เพราะว่าใส่เสื้อผ้าไม่เหมาะกับอุณหภูมิในห้อง เมื่ออยู่เป็นเวลานานจะรู้สึกความเย็นเข้าไปสะสมอยู่ในร่างกาย
4. การใช้แอร์แล้วทำให้จาม มีน้ำมูกไหลและมีไข้ นอกเหนือจาก 3 สาเหตุข้างต้นที่ทำให้ความต้านทานของร่างกายต่ำ ยังอาจจะมาจากการไม่ได้ทำความสะอาดแอร์ จึงทำให้อากาศมีแบคทีเรียค่อนข้างมาก
5. การรักษาความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสมอย่างเข้มงวดเป็นเรื่องยาก ขณะเดียวกันก็ไม่ควรเลี้ยงลูกให้อยู่แต่ในห้อง ไม่ให้ออกนอกบ้าน ดังนั้น การดูแลลูกมากเกินไปจึงไม่เป็นประโยชน์ต่อลูก
กลับมาสู่คำถามที่ว่า เปิดแอร์ให้ทารกได้ไหม?
อย่าลืมว่าในโรงพยาบาลต่างก็เปิดแอร์ ทารกแรกคลอดก็อยู่ในโรงพยาบาลที่เปิดแอร์ แสดงว่าการเปิดแอร์ให้ทารกทำได้ แต่ทำอย่างไรจึงจะถูกต้องเหมาะสม?
เมื่อลูกหลานใช้ชีวิตประจำวันอยู่ในห้องแอร์กลายเป็นเรื่องปกติ แต่พ่อแม่ผู้ปกครองควรรู้วิธีใช้แอร์อย่างไร จึงจะลดอิทธิพลทางลบได้มากที่สุด
1.ควรเปิดแอร์ในห้องนอนก่อนประมาณครึ่งชั่วโมง
ควรเปิดแอร์ก่อนพาทารกเข้าห้องนอน ที่ดีที่สุดคือควรเปิดแอร์ไว้ก่อนครึ่งชั่วโมง และควรตั้งค่าอุณหภูมิให้ต่ำหน่อย หลังจากทารกเข้าในห้องแล้วค่อยปรับเพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้น เพื่อให้อุณหภูมิภายในห้องนอนกับห้องอื่นแตกต่างกันไม่มาก
2.อุณหภูมิควรควบคุมอยู่ในระหว่าง 26 - 28℃
ทารกต้องอยู่ในห้องเป็นเวลานาน ดังนั้น อุณหภูมิระหว่างภายในห้องและนอกห้องไม่ควรแตกต่างกันมาก อุณหภูมิภายในห้องแอร์ควรต่ำกว่าอุณหภูมินอกห้องประมาณ 3 - 5℃ นอกจากนี้ ระดับความแรงของแอร์ควรเป็นระดับต่ำสุด คือให้มีเพียงลมโชย ส่วนทิศทางลมก็ไม่ควรเป่าใส่ทารก